English
image
หลักสูตรปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชกรรมคลินิก)

หลักสูตร


ชื่อหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชกรรมคลินิก)
Doctor of Philosophy (Clinical Pharmacy)
แบนเนอร์
ปริญญาที่ได้รับ ชื่อเต็มภาษาไทย
    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
    Doctor of Philosophy Program in Clinical Pharmacy
ชื่อย่อภาษาไทย
    ปร.ด. (เภสัชกรรมคลินิก)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ
    Ph.D. (Clinical Pharmacy)
สถาบันที่อนุมัติ/สถาบันที่ทำการสอน เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
วันที่หลักสูตรมีผลใช้งาน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 (ปรับปรุงมาจากหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560) เริ่มเปิดสอนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565
ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ 10/2564 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564
สภาวิชาการให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 12/2564 วันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
แผนการศึกษา รูปแบบของหลักสูตร
1) แบบ 1.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) มีค่าเทียบเท่า 48 หน่วยกิต
2) แบบ 1.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) มีค่าเทียบเท่า 72 หน่วยกิต
3) แบบ 2.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
4) แบบ 2.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

หลักสูตรระดับปริญญาเอก
1) แบบ 1.1 และแบบ 2.1 หลักสูตร 3 ปี
2)แบบ 1.2 และแบบ 2.2 หลักสูตร 4 ปี
เกณฑ์ผู้สมัครแต่ละแผน แผนการศึกษา แบบ 1.2 และ แบบ 2.2
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางเภสัชศาสตร์
2) ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.20 ขึ้นไป

แผนการศึกษา แบบ 1.1 และ แบบ 2.1
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางเภสัชศาสตร์
2) มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการในระดับชาติ หรือ นานาชาติ
3) กรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ครบ ตามข้อ 2.2.1 หรือ 2.2.2 ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์
4) มีผลสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยศิลปากรกำหนด
5) คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาพ.ศ.2561 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1 เน้นการทำวิทยานิพนธ์

แบบ 1.1 (สำหรับผู้สำเร็จระดับปริญญาโท)
หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 2 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต


แบบ 1.2 (สำหรับผู้สำเร็จระดับปริญญาตรี)
หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 5 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 72 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต


แบบ 2 เน้นการทำวิทยานิพนธ์และมีรายวิชาศึกษาเพิ่มเติม

แบบ 2.1 (สำหรับผู้สำเร็จระดับปริญญาโท)
หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต


แบบ 2.2 (สำหรับผู้สำเร็จระดับปริญญาตรี)
หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1) นักวิจัยด้านเภสัชกรรมคลินิกทั้งภาครัฐและเอกชน
2) นักวิชาการด้านเภสัชกรรมคลินิกทั้งภาครัฐและเอกชน
3) ผู้สอนทางด้านเภสัชกรรมคลินิกในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
images/msg_ico_n.png
images/msg_ico.png