English
image
หลักสูตรปริญญาโทเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ)

หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

หลักสูตร


ชื่อหลักสูตร หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Master of Pharmacy Program in Health Informatics (Revised 2023)
แบนเนอร์
ปริญญาที่ได้รับ ชื่อเต็มภาษาไทย
    เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
    Master of Pharmacy (Health Informatics)
ชื่อย่อภาษาไทย
    ภ.ม. (สารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ
    Master of Pharmacy Program in Health Informatics (Revised 2023)
สถาบันที่อนุมัติ/สถาบันที่ทำการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม
วันที่หลักสูตรมีผลใช้งาน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (ปรับปรุงมาจากหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) เริ่มเปิดสอนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
สภาวิชาการให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 9/2565 วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พิจารณาความสอดคล้องและออกรหัสหลักสูตร เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
แผนการศึกษา 1) แผน ก แบบ ก 2 รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
2) แผน ข รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
เกณฑ์ผู้สมัครแต่ละแผน สำหรับแผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข
1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต
2) มีคุณสมบัติอย่างอื่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์
3) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
โครงสร้างหลักสูตร แผน ก แบบ ก 2 ประกอบด้วย

วิชาบังคับ 17 หน่วยกิต
วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์(มีค่าเทียบเท่า) 15 หน่วยกิต

แผน ข ประกอบด้วย

วิชาบังคับ 17 หน่วยกิต
วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 13 หน่วยกิต
การค้นคว้าอิสระ (มีค่าเทียบเท่า) และสอบประมวลความรู้ 6 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1) เภสัชกรในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน
2) เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการร้านยา และประกอบธุรกิจร้านยา
3) ผู้สอน นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศทางเภสัชศาสตร์ ในหน่วยงานราชการ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์
4) นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศทางเภสัชศาสตร์ ในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
5) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ

โครงสร้างหลักสูตร


แผน ก แบบ ก2

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
561 501 หลักสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2(2-0-4)
561 502 วิธีการวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2(2-0-4)
561 504 การออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการจัดการสารสนเทศสุขภาพ 3(3-0-6)
561 506 สื่อสุขภาพ 2(2-0-4)
รวมจำนวน 9


ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
561 503 การพัฒนาโครงร่างวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1(0-3-0)
561 505 การสืบค้นและประเมินสารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 2(2-0-4)
561 507 วิทยาการข้อมูลเชิงประยุกต์ 3(3-0-6)
561 508 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1 1(0-3-0)
วิชาเลือก 2
รวมจำนวน 9


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
561 509 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2 1(0-3-0)
561 551 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 7
วิชาเลือก 2
รวมจำนวน 10


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
561 551 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 8
รวมจำนวน 8




แผน ข

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
561 501 หลักสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2(2-0-4)
561 502 วิธีการวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2(2-0-4)
561 504 การออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการจัดการสารสนเทศสุขภาพ 3(3-0-6)
561 506 สื่อสุขภาพ 2(2-0-4)
วิชาเลือก 2
รวมจำนวน 11


ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
561 503 การพัฒนาโครงร่างวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1(0-3-0)
561 505 การสืบค้นและประเมินสารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 2(2-0-4)
561 507 วิทยาการข้อมูลเชิงประยุกต์ 3(3-0-6)
561 508 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1 1(0-3-0)
วิชาเลือก 2
รวมจำนวน 9


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
561 509 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2 1(0-3-0)
วิชาเลือก 9
รวมจำนวน 10


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
561 552 การค้นคว้าอิสระ (มีค่าเทียบเท่า) 6
รวมจำนวน 6




ระบุเวลาปกติ และเวลาเรียนสูงสุด แยกตามแผนการศึกษา


ระยะของหลักสูตร 2 ปี สามารถศึกษาได้ไม่เกิน 5 ปี





รายวิชาและคำอธิบายรายวิชา


561 501 หลักสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Principles of Health Informatics)


     แนวคิดพื้นฐานสำหรับสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ ทักษะสารสนเทศ ระบบสารสนเทศในการดูแลสุขภาพ แหล่งข้อมูลและแนวทางการรักษาทางสุขภาพ มาตรฐานสารสนเทศและระบบการสื่อสารทางสุขภาพ นิยามศัพท์ทางสารสนเทศสุขภาพ ระบบสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายและจริยธรรมของการเข้าถึงและใช้สารสนเทศสุขภาพ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล การประยุกต์สารสนเทศศาสต์สุขภาพ

     Basic concepts for health informatics, informatics skills, information system in healthcare, information sources and guideline-based system, standard of information and healthcare communication system, terminology in health informatics, electronic healthcare system, law and ethical conduct of information access and use, privacy and information security, applications of health informatics.

2(2-0-4)
561 502 วิธีการวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Health Informatics Research Methods)


     ระเบียบวิธีและขั้นตอนการทำวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพอย่างเป็นระบบ การกำหนดเรื่องและหัวข้อวิจัย การวางแผน การออกแบบ ตัวแปรและข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเขียนโครงร่าง สถิติสำหรับการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปรผล การเผยแพร่งานวิจัย จริยธรรมในงานวิจัย

     Methods and process of conducting a health informatics research in systematic approach; selection of a research topic; planning; and design of a research project, variables and data, population and sample, research proposal writing, statistics for research, data analysis, result interpretation, research dissemination, and research ethics.

2(2-0-4)
561 503 การพัฒนาโครงร่างวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Health Informatics Research Proposal Development)


     โจทย์และหัวข้อวิจัย ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขต ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาเบื้องต้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และ การเขียนโครงร่างวิจัย

     Research problem and topic, background and significance, objectives, scope, research methodology, preliminary study, and research proposal writing.

1(0-3-0)
561 504 การออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการจัดการสารสนเทศสุขภาพ
(Database Design and Implementation for Health Information Management)


     การออกแบบฐานข้อมูล แบบจำลองความสัมพันธ์เอนทิตี แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การนอร์มอลไลเซชันของตารางในฐานข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูล การเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การสร้างตาราง ความสัมพันธ์ การสอบถาม แบบฟอร์ม และรายงาน สำหรับการจัดการสารสนเทศสุขภาพ

     Database design; entity relationship model, relational database model, normalization of tables in databases, database construction; hardware and software selection, creation of tables, relationship, queries, forms and reports for health information management.

3(3-0-6)
561 505 การสืบค้นและประเมินสารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Searching and Evaluation of Pharmaceutical and Health Information)


     ประเภทและแหล่งของสารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพ หลักการและเทคนิคการสืบค้นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ การประยุกต์คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประเมินความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

     Types and sources of pharmaceutical and health information, principles and techniques for effective information searching; application of computers, the Internet, and information technology; and evaluation of validity and reliability of information and sources of information.

2(2-0-4)
561 506 สื่อสุขภาพ
(Health Media)


     สื่อและชนิดของสื่อ การสื่อสารทางสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสื่อ การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

     Media and types of media, health communication, tools for media production, data presentation and information related to health.

2(2-0-4)
561 507 วิทยาการข้อมูลเชิงประยุกต์
(Applied Data Science)


      วิทยาศาสตร์ข้อมูลเบื้องต้น กระบวนการของข้อมูล การสำรวจข้อมูลและการแสดงภาพ สถิติและการเรียนรู้ของเครื่อง การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ การประเมินแบบจำลองการคาดการณ์ และการประยุกต์วิทยาการข้อมูลในการสกัดองค์ความรู้

     Basic data science, data process, data exploration and visualization, statistics and machine learning, predictive analytics, evaluating predictive models and applying data science in knowledge extraction.

3(3-0-6)
561 508 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1
(Seminar in Health Informatics I)


     สืบค้น และรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ วิเคราะห์สารสนเทศที่รวบรวมได้เพื่อนำเสนอและอภิปรายโดยให้เหตุผลประกอบ;

     Searching and compiling of relevant information in health informatics from various sources, analysis of collected information for presentation and discussion with reasoning.

1(0-3-0)
561 509 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
(Seminar in Health Informatics II)


     สืบค้น และรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพจากแหล่งข้อมูลต่างๆ วิเคราะห์สารสนเทศที่รวบรวมได้เพื่อนำเสนอและอภิปรายโดยให้เหตุผลประกอบ

     Searching and compiling of relevant information in health informatics from various sources, analysis of collected information for presentation and discussion with reasoning.

1(0-3-0)
561 511 ปัญหาพิเศษด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 1
(Special Problems in Pharmaceutical and Health Informatics I)


     แนวคิดและระบบในการแก้ปัญหาโดยการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเภสัชกรรมและสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ

     Concepts and systems to solve problems by conducting research on pharmaceutical and health informatics.

2(2-0-4)
561 512 ปัญหาพิเศษด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 2
(Special Problems in Pharmaceutical and Health Informatics II)


     ฝึกปฏิบัติแก้ปัญหาโดยการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเภสัชกรรมและสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ

     Exercise to solve problems by conducting research on pharmaceutical and health informatics.

1(0-3-0)
561 513 ระบบคอมพิวเตอร์และหลักการโปรแกรมสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Computer Systems and Principles of Programming for Pharmaceutical and Health Informatics)


     ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประมวลผลข้อมูล การจัดการฐานข้อมูล สำหรับระบบสารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพ ระบบความปลอดภัยและกฎหมายสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาสำหรับการโปรแกรมและหลักการโปรแกรมสำหรับแก้ปัญหาในงานด้านสารสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ

     Computer system components, operating system, computer network and database management for pharmaceutical and health informatics system; security system; related laws in information technology; programming languages; principles of programming for problem solving in pharmaceutical and health informatics.;

3(2-2-5)
561 514 การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Computer Programming in Health Informatics)


     การโปรแกรมข้อมูลแบบพื้นฐานและแบบประยุกต์ การเขียนโปรแกรมการทำงาน ชุดคำสั่ง การคำนวนและแสดงผลลัพธ์ สภาวะแวดล้อมและเครื่องมือสำหรับการพัฒนโปรแกรม และนำโปรแกรมมาใช้ในบริการทางสุขภาพ

     Basic programming and application; working and flow of programming; module of programming; calculation and display; environment and tools for program development; and program application in health services.

2(2-0-4)
561 515 การพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับงานบริการสุขภาพ
(Software Development for Health Services)


     พื้นฐานของการพัฒนาซอฟท์แวร์ วงจรการพัฒนาซอฟแวร์ ข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาซอฟท์แวร์ อุปกรณ์และสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้งานร่วมด้วย ตัวอย่างซอฟท์แวร์ในงานบริการทางสุขภาพ

     Basics of software development; software development cycle, specifications, laws, technologies for software development, devices and required accessories, examples of software in health services.

2(2-0-4)
561 516 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับงานบริการสุขภาพ
(Internet of Things for Health Services)


     หลักการของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เซ็นเซอร์ โปรโตคอลการสื่อสารแบบไร้สาย การจัดเก็บข้อมูล และความปลอดภัย เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง สถาปัตยกรรม การพัฒนาและการนำอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งไปใช้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และโปรแกรมประยุกต์สำหรับการบริการสุขภาพ

     IoT concepts; sensor, wireless protocols, data storage and security; IoT technologies; architectures; development and implementation of IoT technologies and applications for health services.

2(2-0-4)
561 517 การวิจัยอินเตอร์เน็ตทางการแพทย์
(Medical Internet Research)


     การวิจัยการแพทย์ดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีโมบาย สื่อสังคมออนไลน์ อุปกรณ์สวมใส่และเซ็นเซอร์ และเครื่องใช้ในบ้านที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย เพื่อสุขภาพ

     Research on digital health, mobile technologies, social media, novel wearable devices and sensors, connected home appliances for health.

2(2-0-4)
561 518 สารสนเทศศาสตร์การแพทย์แม่นยำ
(Precision Medicine Informatics)


     พื้นฐานสารสนเทศศาสตร์เพื่อการแพทย์แม่นยำ อณูชีวการแพทย์ การรักษาเฉพาะราย การตรวจระดับยีน ความสัมพันธ์ของยีนและโรค เครื่องมือชีวสารสนเทศและการคำนวณ เพื่อการรักษาที่ตรงกับโรคและสภาวะของผู้ป่วย

     Basic of health informatics for precision medicine, molecular biomedicine, personalized medicine, genetic testing, gene-disease relationship, bioinformatic tools and calculation for precise treatment of diseases and conditions of patient.

2(2-0-4)
561 551 วิทยานิพนธ์
(Thesis)


     การวิจัยในหัวข้อทางสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

     A research on a topic about health informatics under the supervision of a thesis advisor.

(มีค่าเทียบเท่า) 15 หน่วยกิต
561 552 การค้นคว้าอิสระ
(Independent Study)


     การค้นคว้าอิสระในหัวข้อทางสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา

     An independent study on a topic about health informatics under the supervision of an advisor.

(มีค่าเทียบเท่า) 6 หน่วยกิต



images/msg_ico_n.png
images/msg_ico.png