ชื่อหลักสูตร | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชกรรมคลินิก) Master of Pharmacy (Clinical Pharmacy) |
|||||||||||||||
แบนเนอร์ | ||||||||||||||||
ปริญญาที่ได้รับ |
ชื่อเต็มภาษาไทย หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Master of Pharmacy Program in Clinical Pharmacy ชื่อย่อภาษาไทย ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ M.Pharm. (Clinical Pharmacy) |
|||||||||||||||
สถาบันที่อนุมัติ/สถาบันที่ทำการสอน | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และสถานที่จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ตามโครงการความร่วมมือพัฒนาเภสัชกรรมคลินิกของ4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงแหล่งฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิกที่ได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการความร่วมมือพัฒนาเภสัชกรรมคลินิกของ 4 มหาวิทยาลัย | |||||||||||||||
วันที่หลักสูตรมีผลใช้งาน | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (ปรับปรุงมาจากหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) เริ่มเปิดสอนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
สภาวิชาการให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 9/2565 วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พิจารณาความสอดคล้องและออกรหัสหลักสูตร เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566 |
|||||||||||||||
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร | ||||||||||||||||
แผนการศึกษา | 1) แผน ก แบบ ก 1 มีค่าเทียบเท่า 36 หน่วยกิต
2) แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต |
|||||||||||||||
เกณฑ์ผู้สมัครแต่ละแผน | แผน ก แบบ ก 1
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่า 2) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและทำวิจัยในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ โดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งในการศึกษาในระดับปริญญาตรี 3) มีคุณสมบัติอื่นๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ 4) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก) และ/หรือ ที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง แผน ก แบบ ก 2 1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่า 2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาวิชาเภสัชศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 3) มีคุณสมบัติอื่นๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ 4) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก) และ/หรือ ทีมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง |
|||||||||||||||
โครงสร้างหลักสูตร |
แผน ก แบบ ก 1 จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
|
|||||||||||||||
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา | 1) เภสัชกรที่จะประกอบวิชาชีพ เป็นเภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรชุมชน
2) ผู้สอน หรืออาจารย์ในสถาบันการศึกษา 3) นักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเภสัชกรรมคลินิก |
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
560 502 | สัมมนาทางเภสัชศาสตร์ | 1*(0-3-0) |
560 552 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) | 9 |
รวมจำนวน | 9 |
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
560 501 | ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ | 3*(3-0-6) |
560 552 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) | 9 |
รวมจำนวน | 9 |
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
560 552 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) | 9 |
รวมจำนวน | 9 |
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
560 552 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) | 9 |
รวมจำนวน | 9 |
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
560 501 | ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ | 3(3-0-6) |
560 503 | เภสัชบำบัดขั้นสูง | 4(4-0-8) |
560 504 | เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 1 | 2(0-6-0) |
วิชาเลือก | 2 | |
รวมจำนวน | 11 |
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
560 502 | สัมมนาทางเภสัชศาสตร์ | 1(0-3-0) |
560 505 | เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 2 | 2(0-6-0) |
560 506 | ภาวะผู้นำทางวิชาชีพและการจัดการบนพื้นฐานของนโยบายในงานเภสัชกรรมปฏิบัติ | 2(2-0-4) |
วิชาเลือก | 4 | |
รวมจำนวน | 9 |
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
560 551 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) | 8 |
รวมจำนวน | 8 |
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
560 551 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) | 8 |
รวมจำนวน | 8 |
หมายเหตุ * หมายถึง รายวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1 ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 - ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
แผน ก แบบ ก 2 ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 - ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชาบังคับ(ไม่นับหน่วยกิต และวัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U) จำนวน 4 หน่วยกิต | ||
560 501 | ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางเภสัชศาสตร์
(Research Methodology in Pharmaceutical Sciences) |
3*(3-0-6) |
560 502 | สัมมนาทางเภสัชศาสตร์
(Seminar in Pharmacy) |
1*(0-3-0) |
วิทยานิพนธ์ | ||
560 552 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า)
(Thesis) |
36 หน่วยกิต |
หมายเหตุ: นักศึกษา แผน ก แบบ ก 1 ที่มีพื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอต่อการทำวิทยานิพนธ์ อาจลงทะเบียนเรียนรายวิชาเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการประจำคณะฯ
* หมายถึง รายวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ จำนวน 14 หน่วยกิต | ||
560 501 | ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางเภสัชศาสตร์
(Research Methodology in Pharmaceutical Sciences) |
3(3-0-6) |
560 502 | สัมมนาทางเภสัชศาสตร์
(Seminar in Pharmacy) |
1(0-3-0) |
560 503 | เภสัชบำบัดขั้นสูง
(Advanced Pharmacotherapeutics ) |
4(4-0-8) |
560 504 | เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 1
(Clinical Pharmacy Clerkship I) |
2(0-6-0) |
560 505 | เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 2
(Clinical Pharmacy Clerkship II) |
2(0-6-0) |
560 506 | ภาวะผู้นำทางวิชาชีพและการจัดการบนพื้นฐานของนโยบายในงานเภสัชกรรมปฏิบัติ
(Professional Leadership and Policy-Based Management in Pharmacy Practice) |
2(2-0-4) |
หมวดวิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต | ||
560 511 | การตรวจติดตามระดับยาเพื่อการบำบัด
(Therapeutic Drug Monitoring) |
2(1-3-2) |
560 512 | ระบบสารสนเทศทางเภสัชกรรมคลินิก
(Clinical Drug Information System) |
2(1-3-2) |
560 513 | การจ่ายเภสัชภัณฑ์พิเศษปราศจากเชื้อ
(Specialized Aseptic Dispensary) |
2(1-3-2) |
560 514 | การประเมินการใช้ยาทางคลินิก
(Clinical Drug Use Evaluation) |
2(1-3-2) |
560 515 | การตรวจติดตามปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
(Adverse Drug Reaction Monitoring) |
2(1-3-2) |
560 516 | ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนพลศาสตร์ขั้นสูง
(Advanced Biopharmaceutics and Pharmacokinetics) |
2(2-0-4) |
560 517 | การให้คำปรึกษาทางเภสัชกรรม
(Pharmacy Counseling) |
2(1-3-2) |
560 518 | ยาใหม่และแนวคิดใหม่
(New Drugs and Novel Concepts) |
2(2-0-4) |
560 519 | ระบบการกระจายยาในโรงพยาบาล
(Hospital Drug Distribution System) |
2(2-0-4) |
560 520 | การประเมินคุณค่าเอกสารทางเภสัชกรรมคลินิก
(Clinical Pharmacy Literature Evaluation) |
2(1-3-2) |
560 521 | หัวข้อปัจจุบันทางเภสัชกรรมคลินิก 1
(Current Topics in Clinical Pharmacy I) |
2(2-0-4) |
560 522 | หัวข้อปัจจุบันทางเภสัชกรรมคลินิก 2
(Current Topics in Clinical Pharmacy II) |
2(1-3-2) |
560 523 | เภสัชระบาดวิทยาขั้นสูง
(Advanced Pharmacoepidermiology) |
3(3-0-6) |
560 524 | เภสัชเศรษฐศาสตร์ขั้นสูง
(Advanced Pharmacoeconomics) |
2(2-0-4) |
560 525 | การวัดและประเมินผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรม
(Outcome Measurement and Evaluation in Pharmacy Practice) |
2(2-0-4) |
560 526 | แนวโน้มด้านเภสัชบำบัดในโรคติดเชื้อ
(Trends in Infectious Disease Pharmacotherapy) |
2(2-0-4) |
560 527 | การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ
(Pharmaceutical Care for Geriatric Patients) |
2(2-0-4) |
560 528 | มานุษยวิทยาและสังคมวิทยาในงานสาธารณสุข
(Anthropology and Sociology in Public Health) |
2(2-0-4) |
560 529 | การจัดการทรัพยากรทางบริบาลเภสัชกรรม
(Pharmaceutical Care Resource Management) |
2(2-0-4) |
560 530 | ปฏิบัติงานการตรวจติดตามระดับยาเพื่อการบำบัด
(Therapeutic Drug Monitoring Clerkship) |
1(0-3-0) |
560 531 | ปฏิบัติงานบริการเภสัชสนเทศ
(Clinical Drug Information Service Clerkship) |
1(0-3-0) |
560 532 | ปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
(Ambulatory Care Clerkship) |
1(0-3-0) |
560 533 | ปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
(Acute Pharmaceutical Care Clerkship) |
1(0-3-0) |
560 534 | ปฏิบัติงานทางคลินิกด้านเภสัชกรรมชุมชน
(Clinical Clerkship in Community Pharmacy) |
1(0-3-0) |
560 535 | ปฏิบัติงานเตรียมและติดตามการใช้ยาเคมีบำบัด
(Chemotherapeutic Preparation and Monitoring Clerkship) |
1(0-3-0) |
560 536 | ปฏิบัติงานเตรียมและติดตามการใช้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
(Parenteral Nutrition Preparation and Monitoring Clerkship) |
1(0-3-0) |
560 537 | ปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมในโรคติดเชื้อ
(Pharmaceutical Care Clerkship in Infectious Diseases) |
1(0-3-0) |
560 538 | การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
(Pharmaceutical Care for Patients with Chronic Diseases) |
2(1-3-2) |
560 539 | การบริบาลทางเภสัชกรรมบนแนวทางปฏิบัติปัจจุบัน
(Current Practice in Pharmaceutical Care) |
2(2-0-4) |
560 540 | การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
(Rational Drug Use) |
2(1-3-2) |
560 541 | สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกสำหรับเภสัชกร
(Herbal and Alternative Medicines for Pharmacists) |
2(2-0-4) |
วิทยานิพนธ์ | ||
560 551 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า)
(Thesis) |
16 หน่วยกิต |
นอกจากรายวิชาเลือกที่เสนอในหลักสูตรนี้แล้ว นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่น ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือมหาวิทยาลัยอื่นทั้งในและต่างประเทศได้ โดยผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการประจำคณะฯ
แผน ก แบบ ก 1 สามารถเทียบเคียงหน่วยกิตของโครงการอบรมระยะสั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการวิจัยทางคลินิกจากงานประจำทางเภสัชกรรม เพื่อความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยกับรายวิชาระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางเภสัชศาสตร์
แผน ก แบบ ก 2 สามารถเทียบเคียงหน่วยกิตของโครงการอบรมระยะสั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการวิจัยทางคลินิกจากงานประจำทางเภสัชกรรมเพื่อความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วย กับรายวิชาระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 1 และเภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 2 ส่วนโครงการอบรมระยะสั้นประกาศนียบัตรบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาการตรวจติดตามระดับยาในเลือด สามารถเทียบเคียงได้กับรายวิชาเภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 1 และเภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 2
560 501 | ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางเภสัชศาสตร์
(Research Methodology in Pharmaceutical Sciences) เงื่อนไข : แผน ก แบบ ก 1 วัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U ขั้นตอนการทำวิจัยทางเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นระบบ รวมถึงการกำหนดหัวข้อวิจัย การวางแผน การออกแบบ ตัวแปรและข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเตรียมโครงร่างการวิจัย การเก็บข้อมูล การใช้ชีวสถิติในงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล การเผยแพร่งานวิจัย จริยธรรมของนักวิจัยในงานวิจัยทางคลินิก Systematic approach in conducting clinical pharmacy research, including topic setting, planning and design, variables and data, population and samples, research proposal preparation, data collection, biostatistics for research, data analysis, interpretation of results, publication, ethical considerations. |
3(3-0-6) |
560 502 | สัมมนาทางเภสัชศาสตร์
(Seminar in Pharmacy) เงื่อนไข : แผน ก แบบ ก 1 วัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U การค้นคว้า รวบรวม และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเรื่องที่เกี่ยวข้องทางเภสัชศาสตร์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ และจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ แล้วมาประมวลและนำเสนอเพื่ออภิปราย และวิจารณ์ร่วมกันในห้องเรียน Systematic searching and data compiling from various sources of pharmacy information covering text books, journals, printed-materials and other sources; consolidation and presentation in class for discussion and critical evaluation. |
1(0-3-0) |
560 503 | เภสัชบำบัดขั้นสูง
(Advanced Pharmacotherapeutics) การบำบัดรักษาด้วยยาสำหรับโรคและความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเน้นเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่ทันสมัยเป็นไปตามหลักฐานทางวิชาการ และมาตรฐานของวิชาชีพเภสัชกรรม Pharmacotherapy for diseases and disorders of various organ systems with an emphasis on rational drug use based on up-to-date academic evidence and standard of pharmacy profession. |
4(4-0-8) |
560 504 | เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 1
(Clinical Pharmacy Clerkship I) การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในลักษณะเวียนปฏิบัติในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดทักษะเชิงบูรณาการในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาด้วยยา ติดตามประเมินผล ที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยเฉพาะราย การสืบหา การป้องกัน และแก้ปัญหาจาก การใช้ยา ร่วมกับทีมสุขภาพและผู้ป่วย การให้คำปรึกษาการใช้ยา การนำเสนอกรณีศึกษา สิทธิผู้ป่วย และจรรยาบรรณวิชาชีพ Clinical practice rotation in various settings to achieve integrated skills in pharmacotherapy including monitoring the outcome of pharmacological therapy in each individual patient; identifying, preventing and solving drug-related problems with healthcare team and patients; drug counseling; case presentation; patient rights; and ethical professional conducts. หมายเหตุ: สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (หลักสูตร 6 ปี) สามารถเลือกการฝึกปฏิบัติงานในทักษะด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Acute Care และ Ambulatory Care ได้ |
2(0-6-0) |
560 505 | เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 2
(Clinical Pharmacy Clerkship II) วิชาบังคับก่อน : * 560 504 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 1 * อาจเรียนพร้อมกันได้ การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในลักษณะเวียนปฏิบัติในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดทักษะเชิงบูรณาการในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาด้วยยา ติดตามประเมินผล ที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยเฉพาะราย การสืบหา การป้องกัน และแก้ปัญหาจากการใช้ยา ร่วมกับทีมสุขภาพและผู้ป่วย การให้คำปรึกษาการใช้ยาก่อนกลับบ้านการนำเสนอกรณีศึกษา สิทธิผู้ป่วย และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยเลือกการฝึกปฏิบัติงานที่แตกต่างจากรายวิชา 560 504 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ 1 Clinical practice rotation in various settings to achieve integrated skills in pharmacotherapy including monitoring the outcome of pharmacological therapy in each individual patient; identifying, preventing and solving drug-related problems with healthcare team and patients; discharge drug counseling; case presentation; patient rights; and ethical professional conducts with the content different from 560 504 Clinical Pharmacy Clerkship I. หมายเหตุ: สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (หลักสูตร 6 ปี) สามารถเลือกการฝึกปฏิบัติงานในทักษะด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Acute Care และ Ambulatory Care ได้ |
2(0-6-0) |
560 506 | ภาวะผู้นำทางวิชาชีพและการจัดการบนพื้นฐานของนโยบายในงานเภสัชกรรมปฏิบัติ
(Professional Leadership and Policy-Based Management in Pharmacy Practice) การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาชีพเภสัชกรรมและการจัดการบนพื้นฐานของนโยบายสุขภาพของประเทศ เพื่อพัฒนางานเภสัชกรรมปฏิบัติ Professional leadership development and management based on national healthcare policy for the improvement in pharmacy practice. |
2 (2-0-4) |
560 511 | การตรวจติดตามระดับยาเพื่อการบำบัด
(Therapeutic Drug Monitoring) หลักการและวิธีการในการตรวจระดับยาในเลือดและสารคัดหลั่งอื่นของร่างกาย การคำนวณค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ในผู้ป่วยเฉพาะราย การปรับเปลี่ยนขนาดและวิธีการให้ยาอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยที่มีสภาวะทางพยาธิสรีรวิทยาต่าง ๆ การคำนวณพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาในประชากร และการบริหารจัดการในการให้บริการตรวจติดตามระดับยาในเลือด Principle and methods for determining drug level in blood and other biological fluids, calculation of pharmacokinetic parameters for individual patient, modification of drug dosing regimen for patients with various pathophysiologic conditions, calculating population pharmacokinetics and management of therapeutic drug monitoring service. |
2(1-3-2) |
560 512 | ระบบสารสนเทศทางเภสัชกรรมคลินิก
(Clinical Drug Information System) แนวคิดและระบบในการจัดการข้อมูลของยาที่ใช้ในการบริการทางคลินิก การจัดการเภสัชสนเทศอย่างเป็นระบบ การสื่อสารเภสัชสนเทศอย่างมีประสิทธิผล Concepts and system for management of clinical drug information service, systematic handling of drug information, and effective communication of the responses. |
2(1-3-2) |
560 513 | การจ่ายเภสัชภัณฑ์พิเศษปราศจากเชื้อ
(Specialized Aseptic Dispensary) การคำนวณ การตั้งตำรับ การวางแผนการเตรียม ตลอดจนแผนการให้และการติดตามผลการให้สารผสมที่ให้ทางหลอดเลือดดำ และสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือด การเตรียมยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ร่างกายสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ปฏิกิริยาระหว่างยา ความคงตัวของยาเตรียมดังกล่าว Calculation, formulation, and planning for the preparation, administration and monitoring of intravenous admixture therapy including parenteral nutrition and cytotoxic preparations for individual patient; drug interaction; and stability of these preparations. |
2(1-3-2) |
560 514 | การประเมินการใช้ยาทางคลินิก
(Clinical Drug Use Evaluation) แนวคิดการประเมินการใช้ยา วิธีการในการศึกษาการใช้ยา การกำหนดเกณฑ์ในการประเมินการใช้ยาเฉพาะชนิด แบบบันทึกข้อมูลและกระบวนการ เก็บข้อมูล การประเมินและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้ Concepts and methods in the evaluation of drug utilization, setting criteria for an evaluation of drug utilization for selected drug, documentation forms and procedures, assessment and analysis of the collected data. |
2(1-3-2) |
560 515 | การตรวจติดตามปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
(Adverse Drug Reaction Monitoring) วิธีการเฝ้าระวังติดตามปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยา การสืบหา บันทึก และการประเมินปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่สงสัยว่าเกิดจากยาโดยใช้ขั้นตอนวิธีต่าง ๆ Methods for the surveillance of adverse drug reactions, identification, documentation, and evaluation of suspected adverse drug reactions using various algorithms. |
2(1-3-2) |
560 516 | ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนพลศาสตร์ขั้นสูง
(Advanced Biopharmaceutics and Pharmacokinetics) รูปแบบของยาและการออกแบบรูปแบบของยา ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มข้นของยาในเลือดตามค่าการเปลี่ยนแปลงของเวลา ปัจจัย ด้านเภสัชจลนพลศาสตร์ที่มีผลต่อการตอบสนองในร่างกายต่อการบำบัดด้วยยา การใช้คณิตศาสตร์มาคำนวณ และทำนายปรากฏการณ์ของยาที่จะเกิดขึ้นในร่างกาย Drug dosage forms and their designs, factors affecting temporal plasma drug concentration, pharmacokinetic factors affecting body response to drug therapy, mathematical calculations and prediction of drug fate and response in the body. |
2(2-0-4) |
560 517 | การให้คำปรึกษาทางเภสัชกรรม
(Pharmacy Counseling) วิธีการในการสืบหาและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในผู้ป่วยเฉพาะราย ทักษะสำหรับการสื่อสารที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หลักการและวิธีการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อการบริบาลทางเภสัชกรรม จริยธรรมของการสื่อสารทางเภสัชกรรม ความร่วมมือในการใช้ยา ปัจจัยที่มีผลต่อ ความร่วมมือในการใช้ยา วิธีการวัด ประเมินการให้ความร่วมมือในการใช้ยาการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในลักษณะแบบรายกลุ่มและรายสาธารณะ การจัดตั้งหน่วยบริการให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องยา Methods in the identification and solving of drug related problems in individual patient, communication skills in pharmacy practice, principles of interpersonal communication for pharmaceutical care, ethics in pharmacy communication, medication adherence, factors affecting adherence, methods to assess medication adherence, private group and public counseling for patient education, establishment of drug counseling service unit. |
2(1-3-2) |
560 518 | ยาใหม่และแนวคิดใหม่
(New Drugs and Novel Concepts) การค้นหาข้อมูลยาใหม่และแนวคิดใหม่จากสิ่งตีพิมพ์วรรณกรรมต่าง ๆ การประเมินวรรณกรรมเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลทางคลินิก ความปลอดภัยและมุมมองอื่นๆ ด้านเภสัชบำบัด ข้อดี ข้อเสียของการรักษาด้วยยาที่เคยใช้มาแต่เดิมกับยาใหม่หรือแนวคิดใหม่ของเภสัชบำบัด Searching of new drug and novel concept from various literatures; evaluation of literature to compare clinical efficacy, safety, and other aspects of pharmacotherapy, and to compare advantages and disadvantages between conventional drug treatments and new drugs or novel paradigm of pharmacotherapy. |
2(2-0-4) |
560 519 | ระบบการกระจายยาในโรงพยาบาล
(Hospital Drugs Distribution System) แนวคิดของระบบการกระจายยา ระบบการกระจายยาในโรงพยาบาล การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง การประยุกต์ระบบการกระจายยาชนิดต่าง ๆ มาใช้ในเมืองไทย Concepts in drug distribution system, drug distribution systems in hospital, high alert drug management, application of various drug distribution systems in Thailand. |
2(2-0-4) |
560 520 | การประเมินคุณค่าเอกสารทางเภสัชกรรมคลินิก
(Clinical Pharmacy Literature Evaluation) การประเมินคุณค่าเอกสารทางเภสัชศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้าน เภสัชกรรมคลินิก ทั้งที่เป็นเอกสารแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ทุติยภูมิและเอกสารอื่น ๆ ได้มาจากแหล่งต่าง ๆ ด้วยการค้นหาอย่างมีระบบ Critical appraisal of pharmacy literature especially clinical pharmacy covering primary, secondary, and other sources collected from systematic searching. |
2(1-3-2) |
560 521 | หัวข้อปัจจุบันทางเภสัชกรรมคลินิก 1
(Current Topics in Clinical Pharmacy I) ความก้าวหน้าทางด้านเภสัชกรรมคลินิกและการบริบาลทางเภสัชกรรม Updates on clinical pharmacy and pharmaceutical care. |
2(2-0-4) |
560 522 | หัวข้อปัจจุบันทางเภสัชกรรมคลินิก 2
(Current Topics in Clinical Pharmacy II) ความก้าวหน้าทางด้านเภสัชกรรมคลินิกและการบริบาลทางเภสัชกรรม รวมทั้งการฝึกทักษะ Updates on clinical pharmacy and pharmaceutical care including skill practices. |
2(1-3-2) |
560 523 | เภสัชระบาดวิทยาขั้นสูง
(Advanced Pharmacoepidemiology) ความสำคัญของเภสัชระบาดวิทยาในแง่ของกระบวนการควบคุม ทางกฎหมายและการปฏิบัติทางคลินิก วิธีการในการศึกษาทางเภสัชระบาดวิทยา แหล่งข้อมูล บทบาทของเภสัชกรในด้านเภสัชระบาดวิทยา การสืบหาปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ของยาที่ยังไม่ทราบมาก่อน โดยใช้วิธีระบาดวิทยา Importance of pharmacoepidemiology with respect to legal regulation and clinical practice, methodology for study of pharmacoepidemiology, source of information, role of pharmacist in pharmacoepidemiology, identification of unknown adverse drug reactions through epidemiological methods. |
3(3-0-6) |
560 524 | เภสัชเศรษฐศาสตร์ขั้นสูง
(Advanced Pharmacoeconomics) การนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาประเมินอย่างเป็นระบบเพื่อทางเลือกที่ดีที่สุดทางเภสัชกรรมหรือการให้บริการทางเภสัชกรรม รูปแบบการประเมินทางเภสัชเศรษฐศาสตร์ที่คำนึงถึงต้นทุน มุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการให้คุณค่า The application of economics principle in systematic evaluation to identify the best alternative in pharmacy practices or pharmaceutical services, models in pharmacoeconomic evaluation based on costs, stakeholders’ perspectives, and their values. |
2(2-0-4) |
560 525 | การวัดและประเมินผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรม
(Outcome Measurement and Evaluation in Pharmacy Practice ) เภสัชบำบัดในโรคติดเชื้อที่สำคัญและพบบ่อยในประเทศไทยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่มีความสำคัญ การดื้อต่อยาต้านจุลชีพ การติดตามผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านจุลชีพในการบำบัดโรคติดเชื้อ บทบาทของเภสัชกรในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ Pharmacotherapy for commonly found infectious diseases in Thailand, important pathogenic bacteria, antimicrobial resistance, drug therapy monitoring in patients with infectious diseases, pharmacists’ roles in providing pharmaceutical care to patients with infectious diseases. |
2(2-0-4) |
560 526 | แนวโน้มด้านเภสัชบำบัดในโรคติดเชื้อ
(Trends in Infectious Diseases Pharmacotherapy) เภสัชบำบัดในโรคติดเชื้อที่สำคัญและพบบ่อยในประเทศไทย เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่มีความสำคัญ การดื้อต่อยาต้านจุลชีพ การติดตามผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านจุลชีพในการบำบัดโรคติดเชื้อ บทบาทของเภสัชกรในการให้บริบาล ทาง เภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ Pharmacotherapy for commonly found infectious diseases in Thailand, important pathogenic bacteria, antimicrobial resistance, drug therapy monitoring in patients with infectious diseases, pharmacists’ roles in providing pharmaceutical care to patients with infectious diseases. |
2(2-0-4) |
560 527 | การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ
(Pharmaceutical Care for Geriatric Patients) เภสัชบำบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยสูงอายุ ในโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบประสาท โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไต การดูแลแบบประคับประคอง การจัดการโรคร่วม และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งนำมาบูรณาการเพื่อใช้แก้ไขปัญหาของผู้ป่วย Pharmacotherapy and pharmaceutical care in geriatric patients emphasizing on respiratory, neurological, cancer, cardiovascular and kidney diseases, palliative care, management of comorbidities and complications, integrative approach to solve patient problems. |
2(2-0-4) |
560 528 | มานุษยวิทยาและสังคมวิทยาในงานสาธารณสุข
(Anthropology and Sociology in Public Health) ผลของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมต่อพฤติกรรมสุขภาพและการพัฒนาสุขภาพ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ Effect of interpersonal relationship, society, economics, and cultures on health behavior and health development, factors influencing health and health promotion. |
2(2-0-4) |
560 529 | การจัดการทรัพยากรทางบริบาลเภสัชกรรม
(Pharmaceutical Care Resource Management) ทฤษฎีของการจัดการทรัพยากรทางบริบาลเภสัชกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการบุคลากรด้านบริบาลเภสัชกรรมโดยเน้นการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Theories of resource management in pharmaceutical care, leadership development, and human resource management in pharmaceutical care emphasizing on the maximization of efficiency and effectiveness. |
2(2-0-4) |
560 530 | ปฏิบัติงานการติดตามระดับยาเพื่อการบำบัด
(Therapeutic Drug Monitoring Clerkship) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านการติดตามตรวจวัดระดับยา เพื่อการบำบัด การคำนวณพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ในผู้ป่วยเฉพาะรายการปรับขนาดของการใช้ยา การแปลผลและให้คำแนะนำ การติดตามผู้ป่วยการนำเสนอกรณีศึกษา และข้อมูลปัจจุบันทางเภสัชจลนพลศาสตร์คลินิก จากวรรณกรรม Professional practices in therapeutic drug monitoring, the calculation of pharmacokinetic parameters in individual patients, dosage regimen adjustment, interpretation and recommendation, patient monitoring, case presentation and updated information in clinical pharmacokinetics from literature. |
1(0-3-0) |
560 531 | ปฏิบัติงานบริการเภสัชสนเทศ
(Clinical Drug Information Services Clerkship) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในหน่วยเภสัชสนเทศ การจัดแยกประเภทของคำถาม การประเมินสารสนเทศพื้นฐาน การค้นหาข้อมูลอย่างเป็นระบบการประเมินคุณภาพและแหล่งข้อมูลสารสนเทศ การประมวลข้อมูล และการติดตามผล การนำเสนอกรณีศึกษาและข้อมูลปัจจุบันทางเภสัชสนเทศจากวรรณกรรม Professional practices in drug information unit, question classification, basic information assessment, systematic approach in retrieving information, evaluation of information quality, and sources of information, data processing and monitoring, case presentation and update information in clinical drug information from literature. |
1(0-3-0) |
560 532 | ปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
(Ambulatory Care Clerkship) ฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาล และ/หรือหน่วยปฐมภูมิ การจ่ายยา การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย การทบทวนประวัติการใช้ยาผู้ป่วยโดยกระบวนการเปรียบเทียบและประสานรายการยา การประเมินผู้ป่วยและตรวจติดตามการใช้ยา การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล การบ่งชี้ การป้องกัน การแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาร่วมกับทีมสุขภาพและผู้ป่วย การนำเสนอกรณีศึกษา สิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ นำเสนอกรณีศึกษาและข้อมูลปัจจุบันทางการบริบาลทางเภสัชกรรมจากวารสาร Professional practices in hospital ambulatory setting and/or primary care unit; drug dispensing; patient counseling, review of medical history via medicine reconciliation; patient assessment and drug therapy monitoring; telepharmacy; identifying; preventing, and solving drug related problems with health care team and patients; case presentation; patient rights and ethical professional conducts; case presentation and update information in pharmaceutical care from literatures. |
1(0-3-0) |
560 533 | ปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
(Acute Pharmaceutical Care Clerkship) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยใน การประสานรายการยา การประเมินผู้ป่วยและการตรวจติดตามการใช้ยา การสืบหา การป้องกัน และแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาร่วมกับทีมสุขภาพและผู้ป่วย การให้คำปรึกษาการใช้ยาก่อนกลับบ้าน สิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ นำเสนอกรณีศึกษาและข้อมูลปัจจุบันทางการบริบาลทางเภสัชกรรมจากวรรณกรรม Professional practices in acute care,medication reconciliation; patient assessment and drug therapy monitoring; identifying, preventing, and solving drug related problems with healthcare team and patients; discharge drug counseling; patient rights and professional ethics; case presentation and updated information on pharmaceutical care from literature. |
1(0-3-0) |
560 534 | ปฏิบัติงานทางคลินิกด้านเภสัชกรรมชุมชน
(Clinical Clerkship in Community Pharmacy) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในสถานปฏิบัติการชุมชน การทบทวนโรคและประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย การเลือกยา การจ่ายยา การให้คำปรึกษาการใช้ยาและวิถีชีวิต การทำบันทึกประวัติการใช้ยาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การประเมินและติดตามผล การสืบหา การป้องกัน และแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา การคัดกรองโรคเรื้อรัง การส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล สิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ นำเสนอกรณีศึกษาและข้อมูลปัจจุบันทางการบริบาลทางเภสัชกรรมจากวรรณกรรม Professional practices in community pharmacy; medical and medication history review; drug selection; drug dispensing, patient counseling on drug therapy and lifestyle; preparing drug profile for patient with chronic diseases; patient assessment and follow-up; identifying, preventing, and solving drug related problems; screening for chronic diseases; health promotion for disease prevention; telepharmacy; patient rights and professional ethics; case presentation and updated information on pharmaceutical care from literature. |
1(0-3-0) |
560 535 | ปฏิบัติงานเตรียมและติดตามการใช้ยาเคมีบำบัด
(Chemotherapeutic Preparation and Monitoring Clerkship) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านการเตรียมและติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาเคมีบำบัด การทบทวนประวัติผู้ป่วยทางการใช้ยา การประเมินและเฝ้าระวังผลการรักษา การสืบค้นปัญหาที่เกี่ยวกับยา การหาแนวทางเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วย การให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยาก่อนกลับบ้าน การนำเสนอกรณีศึกษาและข้อมูลปัจจุบันทางการใช้ยาเคมีบำบัดจากวรรณกรรม Professional practices in preparing and monitoring chemotherapy; medication history review, patient assessment and drug therapy monitoring; identifying, preventing and solving drug related problems with healthcare professionals and patients; discharge counseling; case presentation and updated information in chemotherapy from literature. |
1(0-3-0) |
560 536 | ปฏิบัติงานเตรียมและติดตามการใช้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
(Parenteral Nutrition Preparation and Monitoring Clerkship) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านการเตรียมอาหารทางหลอดเลือดดำ การประเมินผู้ป่วยและติดตามผลการรักษาด้วยอาหารทางหลอดเลือดดำการประสานรายการยา การสืบค้น การป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับยาและผลิตภัณฑ์อาหารทางหลอดเลือดดำ ร่วมกับทีมสุขภาพและผู้ป่วย สิทธิผู้ป่วย และจรรยาบรรณวิชาชีพการนำเสนอกรณีศึกษาและข้อมูลปัจจุบันทางการใช้สารอาหารทางหลอดเลือดดำจากวรรณกรรม Professional practices in parenteral nutrition preparation; assessment and monitoring of patients receiving parenteral nutrition; medication reconciliation; identifying, preventing, and solving problems associated with drugs and parenteral nutrition preparations with health care team and patients; patient rights and ethical professional conducts; case presentation and updated information in parenteral nutrition from literature. |
1(0-3-0) |
560 537 | ปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมในโรคติดเชื้อ
(Pharmaceutical Care Clerkship in Infectious Diseases) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การประสานรายการยา การประเมินผู้ป่วยและการตรวจติดตามผลการรักษา การสืบค้น การป้องกันและการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับยาร่วมกับ ทีมสุขภาพบนหอผู้ป่วย การให้คำปรึกษาการใช้ยาก่อนกลับบ้าน การนำเสนอกรณีศึกษา สิทธิผู้ป่วย และจรรยาบรรณวิชาชีพ Professional practices in providing pharmaceutical care to patients with infectious diseases; medication reconciliation; patient assessment and drug therapy monitoring; identifying, preventing, and solving for drug related problems with health care team; discharge counseling; case presentation, patient rights and ethical professional conducts. |
1(0-3-0) |
560 538 | การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
(Pharmaceutical Care for Patients with Chronic Diseases) บทบาทของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วย โรคเรื้อรังที่พบบ่อย เภสัชบำบัด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วย การติดตามและประเมินผลลัพธ์การรักษาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง The role of pharmacists in providing pharmaceutical care for patients with common chronic diseases; pharmacotherapy; behavior modification; patient counseling; and outcomes monitoring and assessment in patients with chronic diseases. |
2 (1-3-2) |
560 539 | การบริบาลทางเภสัชกรรมบนแนวทางปฏิบัติปัจจุบัน
(Current Practice in Pharmaceutical Care) แนวคิดและหลักการบริบาลทางเภสัชกรรมบนพื้นฐานของหลักฐานทางวิชาการในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคทางระบบประสาท โรคมะเร็ง รวมถึงผู้ป่วยวิกฤต โดยบูรณาการร่วมกับมุมมองเชิงปฏิบัติทางคลินิก ตลอดจนสภาวะของผู้ป่วย Concepts and principles of pharmaceutical care based on academic evidences in patients with infectious, kidney, cardiovascular, neurologic and oncologic diseases including critically ill patients using integrative perspective in clinical practice and current conditions of patients. |
2 (2-0-4) |
560 540 | การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
(Rational Drug Use) แนวคิดและองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยการประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิชาการเข้ากับบริบทของหน่วยงาน และประเทศ เพื่อนำไปสู่การบริบาลที่มีคุณภาพและการใช้ทรัพยากรทางสาธาณสุขที่มีประสิทธิภาพ Concepts and knowledge of rational drug use by applying evidence-based information within the context of the organizations and country to achieve good quality healthcare and efficient usage of health care resources. |
2 (1-3-2) |
560 541 | สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกสำหรับเภสัชกร
(Herbal and Alternative Medicines for Pharmacists) ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกสำหรับเภสัชกรเพื่อรองรับการเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์ทางเลือก Knowledge about herbal and alternative medicines for pharmacists to support linkage between modern and alternative medicines. |
2 (2-0-4) |
560 551 | วิทยานิพนธ์
(Thesis) งานวิจัยทางเภสัชกรรมคลินิก ในการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ Research in clinical pharmacy under supervision of a thesis advisor and advisory committee.
|
(มีค่าเทียบเท่า)16 หน่วยกิต |
560 552 | วิทยานิพนธ์
(Thesis) งานวิจัยทางเภสัชกรรมคลินิก ในการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ Research in clinical pharmacy under supervision of a thesis advisor and advisory committee. |
(มีค่าเทียบเท่า)36 หน่วยกิต |