ชื่อหลักสูตร | หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) Master of Pharmacy Program in Pharmaceutical and Health Consumer Protection (Revised 2023) |
|||||||||
แบนเนอร์ | ||||||||||
ปริญญาที่ได้รับ |
ชื่อเต็มภาษาไทย เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Master of Pharmacy (Consumer Protection in Pharmaceutical and Health Consumer Protection) ชื่อย่อภาษาไทย ภ.ม. (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ M.Pharm. (Consumer Protection in Pharmaceutical and Health Consumer Protection) |
|||||||||
สถาบันที่อนุมัติ/สถาบันที่ทำการสอน | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม | |||||||||
วันที่หลักสูตรมีผลใช้งาน | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 จะเริ่มใช้ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ โดยมติเวียนครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 สภาวิชาการให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 |
|||||||||
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร | ||||||||||
แผนการศึกษา | แผน 1 แบบวิชาการ จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต | |||||||||
เกณฑ์ผู้สมัครแต่ละแผน | แผน 1 แบบวิชาการ
1) สำเร็จปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต และต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 2) มีผลการศึกษาจากระดับปริญญาตรีเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 3) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง 4) ผู้มีคุณสมบัติอย่างอื่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ |
|||||||||
โครงสร้างหลักสูตร |
แผน 1 แบบวิชาการ จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
|
|||||||||
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา | 1) เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานรัฐ และเอกชน
2) ผู้สอน นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ในหน่วยงานราชการ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์ 3) นักวิชาการที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน |
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
563 501 | ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ | 2(2-0-4) |
563 502 | การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ | 2(2-0-4) |
563 503 | กระบวนการกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ | 2(2-0-4) |
563 504 | การจัดการความเสี่ยงและเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภค | 3(3-0-6) |
563 506 | นโยบายด้านยาและสุขภาพ | 2(2-0-4) |
รวมจำนวน | 11 |
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
563 505 | การคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน | 2(2-0-4) |
563 507 | ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ | 3(3-0-6) |
563 508 | สัมมนาทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ | 1(0-3-0) |
563 509 | การจัดการโครงการวิจัย | 1(0-3-0) |
563 xxx | วิชาเลือก | 4 |
รวมจำนวน | 11 |
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
563 551 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) | 7 |
รวมจำนวน | 7 |
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
563 551 | วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) | 7 |
รวมจำนวน | 7 |
ระยะของหลักสูตร 2 ปี สามารถศึกษาได้ไม่เกิน 5 ปี
562 512 | การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
(Health Technology Assessment) ความสำคัญของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในการบริหารจัดการระบบยา การประเมินต้นทุนด้านสุขภาพ การประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพ แบบจำลองสถานะทางสุขภาพ การประยุกต์เครื่องมือการวิเคราะห์ความคุ้มค่า ในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ความไว การประเมินการศึกษาวิจัยทางเทคโนโลยีด้านสุขภาพ The importance of health technology assessment in drug system management; assessment of healthcare cost; assessment of health outcomes; models for health status assessment; application of cost-effectiveness tools in assessing health technology rational discussion sensitivity analysis; evaluation of research studies in health technology. |
3(3-0-6) |
562 516 | สถิติเพื่อการวิจัย
(Statistics for Research) หลักการและแนวคิดของสถิติในงานวิจัยด้านสุขภาพและสังคมศาสตร์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ การเลือกวิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล Principles and concepts of statistics in health and social science research, mean comparison, analysis of variance, correlation analysis, multiple regression analysis, non-parametric statistics; selection of statistical methods for data analysis; data analysis with statistical programs; interpretation of analyzed data. |
2(2-0-4) |
563 501 | ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(System of Pharmaceutical and Health Consumer Protection) แนวคิดและระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพในระดับชุมชน และสังคม นโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การจัดการความขัดแย้ง การประเมินและพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่ตอบสนองต่อสังคม เครื่องมือและบทบาทเภสัชกรในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล Concept and system of pharmaceutical and health consumer protection at community and society level; consumer protection policy; conflict management; evaluation and development of pharmaceutical and health consumer protection system in response to societal needs; tools and pharmacists’ roles in consumer protection in digital era. |
2(2-0-4) |
563 502 | การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(Application of Epidemiology in Pharmaceutical and Health Consumer Protection) การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ระบบจัดการสัญญาณอันตรายจากการใช้ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ การวัดทางระบาดวิทยา รูปแบบและวิธีการดำเนินงานวิจัยทางระบาดวิทยา การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาในการคัดกรองและสอบสวนปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ทางระบาดวิทยา และแปลผลเพื่อใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ Safety surveillance for drug and health products; signal management system for safety signal from the use of medicines and health products; epidemiological measurements; type of studies and research approaches in epidemiology; application of epidemiology in the screening and investigation of pharmaceutical and health consumer protection issues; data analysis with epidemiological statistics and result interpretation for the use in the consumers protection in drug and health. |
2(2-0-4) |
563 503 | กระบวนการกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(Legal Procedure for Consumer Protection in Pharmaceutical and Health) หลักกฏหมายทั่วไป การตีความการใช้กฎหมาย สาระสำคัญของกฏหมายปกครอง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค กระบวนการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค การฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมายในระบบศาลยุติธรรมและศาลปกครอง บทบาทของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การสืบสวนเรื่องร้องเรียน การวางแผนและประสานการตรวจสอบ การตรวจค้น การยึดอายัด การประมวลพยานหลักฐาน การทำบันทึกเอกสารทางกฎหมาย การออกคำสั่งทางปกครอง การเปรียบเทียบปรับ General principle of law; legal interpretation; the essence of administrative acts; consumer protection law; legal process for consumer protection; legal litigation in the judicial and administrative courts; roles of the legal competent officer; complaint investigation; planning and coordinating audit activities; searches; seizes; evidence processing; legal document records; issuing administrative orders; fine payment. |
2(2-0-4) |
563 504 | การจัดการความเสี่ยงและเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภค
(Risk Management and Consumer Empowerment) ความสำคัญของการจัดการความเสี่ยง กระบวนการจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ การระบุความเสี่ยง การค้นหาความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยง กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีการต่าง ๆ การสื่อสารความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพ การประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดทำข้อมูลและออกแบบสื่อเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคผ่านการใช้สื่อด้านสุขภาพ The importance of risk management; risk management processes for health products and services; risk identification; risk investigation; risk analysis; risk assessment; risk prioritization, risk management strategies; risk communication; health literacy; application of data preparation and media design for consumer protection in drug and health; consumer empowerment through health media. |
3(3-0-6) |
563 505 | การคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
(Consumer Protection in Community) แนวคิดและทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา หลักการทำงานในชุมชน การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประเด็นสุขภาพในชุมชน การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคโดยชุมชนมีส่วนร่วม Consumer behavior concept and theories in psychology, sociology and anthropology; work practice in community; analysis of factor affecting to community health; problem prioritization; project for consumer protection development with community participation. |
2(2-0-4) |
563 506 | นโยบายด้านยาและสุขภาพ
(Drug and Health Policy) ความสำคัญของนโยบายสุขภาพ ความเชื่อมโยงระหว่างระบบสุขภาพและนโยบายสุขภาพ แนวคิดและทฤษฏีการกำหนดนโยบาย นโยบายสาธารณะ กระบวนการนโยบาย การพัฒนานโยบายสุขภาพ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบาย เครื่องมือในการประเมินนโยบาย ความเป็นธรรมของนโยบายสุขภาพ การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ทิศทางการพัฒนานโยบายด้านยาและสุขภาพ The importance of health policy; the relationship between health systems and health policy; concepts and theories of policy making; public policy; policy process; health policy development; policy implementation; policy analysis; policy assessment tools; fairness in health policy; policy brief preparation; direction of drug and health policy development. |
2(2-0-4) |
563 507 | ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(Research Methodology in Pharmaceutical and Health Consumer Protection) ขั้นตอนการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ การกำหนดปัญหาการวิจัย และหัวข้อวิจัยทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ การวางแผน การออกแบบการวิจัย ตัวแปรและข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูล สถิติสำหรับงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย การเผยแพร่งานวิจัย จริยธรรมในงานวิจัย Systematic approaches in research conduct; selection of research problems and topics related to pharmaceutical and health consumer protection; research planning; research design; variables and data; population and sample groups; data collection; statistics for research; for research; data analysis; data interpretation; research proposal preparation; research work dissemination; research ethics. |
3(3-0-6) |
563 508 | สัมมนาทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(Seminar in Pharmaceutical and Health Consumer Protection) การค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านยาและสุขภาพ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และอื่นๆ การประเมินข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การอภิปรายและวิจารณ์อย่างมีเหตุผล Searching and compiling of data related to pharmaceutical and health consumer protection; sources of data including textbooks, journals, printed materials and others; data evaluation; presentation of collected data; rational discussion and criticism. |
1(0-3-0) |
563 509 | การจัดการโครงการวิจัย
(Research Project Management) การพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์ การทบทวนวรรณกรรม การค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี ประเด็นที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ การนำเสนอข้อมูล การอภิปรายและวิจารณ์อย่างมีเหตุผล Developing thesis topic; literature review; searching and gathering concepts, theories and important issues in pharmaceutical and health consumer protection related to the thesis; analyzing and synthesizing issues related to thesis; thesis proposal writing; presentation of information; rational discussion and criticism. |
1(0-3-0) |
563 511 | การทบทวนวรรณกรรมเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
(Systematic Reviews for Evidence Synthesis) ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ วิธีการสืบค้น การคัดเลือกงานวิจัย การสกัดข้อมูล การประเมินคุณภาพของข้อมูลจากการศึกษาทางระบาดวิทยา การวิเคราะห์อภิมาน The importance of systematic reviews; systematic review process; searching methods; research selection; data extraction; quality assessment of epidemiological study; meta-analysis. |
2(2-0-4) |
563 512 | การประยุกต์ใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
(Application of Law for Consumer Protection) การประยุกต์ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพโดยใช้หลักวิชาความรู้และจรรยาบรรณ การเปรียบเทียบกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายวิธีพิจารณาความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามระบบศาลไทย การเบิกความเป็นพยานในศาล ทักษะในการป้องกันแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ Application of law related to consumer protection in drug and health using the related principles and ethics; comparison of law related to consumer protection, law and procedural code related to the conducts of pharmacists as officers as designated by law and relevant organizations; lawful procedure for consumer protection as per the Thai Court system; in-court testifying, skills for the prevention and solving problems and impacts resulted from duties. |
2(2-0-4) |
563 513 | การสื่อสารความเสี่ยงด้านยาและสุขภาพ
(Risk Communication in Pharmaceutical and Health) หลักการสื่อสารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ทฤษฎีที่ใช้ในการสื่อสารความเสี่ยง การสื่อสารตามประเภทของความเสี่ยง การกำหนดช่องทางการสื่อสารความเสี่ยง การสื่อสารความเสี่ยงในระดับชุมชน และระดับนโยบาย การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารความเสี่ยง การแก้ไขภาวะวิกฤต Principles of risk communication for health products; theories in risk communication; communication based on type of risk; establishing risk communication channels; risk communication in community level and policy level; stakeholder analysis; organizations involved in risk communication; crisis resolution. |
2(2-0-4) |
563 514 | การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ
(Standardization of Health Products and Services) ความสำคัญของมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการในสังคม บทบาทของมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพในงานคุ้มครองผู้บริโภค หลักการและวิธีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพในระดับสากลและในประเทศไทย การสื่อสารมาตรฐานให้กลุ่มเป้าหมาย บทบาทของผู้บริโภคและผู้ประกอบการในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการ การบังคับใช้มาตรฐานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่มีหลายมาตรฐาน The importance of product and service standards in society; the role of health product and service standards in consumer protection; principles and methods for setting standards for health products and services at international and national level in Thailand; standard communication to the target audience; the role of consumers and entrepreneurs in the development of product and service standards; standard enforcement and relevant agencies; multi-standard product management. |
2(2-0-4) |
563 551 | วิทยานิพนธ์
(Thesis) การดำเนินการวิจัยในหัวข้อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านยาและสุขภาพภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ Conducting a specific research topic related to pharmaceutical and health consumer protection under the supervision of a thesis advisor. |
มีค่าเทียบเท่า 14 หน่วยกิต |