|
ลักษณะยา |
|
ตัวยาสำคัญ |
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของใบบัวบกแห้ง [Centella asiatica (L.) Urb.] ร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก (w/w) |
|
คำแนะนำ |
|
ขนาดและวิธีใช้ |
ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น |
|
ข้อห้ามใช้ |
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้พืชในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) เช่น ยี่หร่า ผักชี - ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง - ห้ามใช้ในแผลเปิด |
|
คำเตือน |
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน |
|
อาการไม่พึงประสงค์ |
มีรายงานว่าการทาสารสกัดใบบัวบกชนิดขี้ผึ้งหรือผง อาจทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสได้ |
|
|
|
ลักษณะยา |
ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง (รพ.) |
|
ตัวยาสำคัญ |
ผงจากส่วนเหนือดินของบัวบก [Centella asiatica (L.) Urb.] |
|
คำแนะนำ |
|
ขนาดและวิธีใช้ |
ชนิดชง
รับประทานครั้งละ 2 - 4 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 - 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ชนิดแคปซูล
รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร |
|
ข้อห้ามใช้ |
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้พืชในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) |
|
คำเตือน |
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกเนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก - หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ - หลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ในผู้ป่วยบางราย - ควรระวังการใช้ยาร่วมกับยาที่มีผลต่อตับ ยาขับปัสสาวะ และยที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้ - บัวบกอาจเพิ่มระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด และทำให้ประสิทธิผลของยาลำน้ำตาลและยาลดคอเรสเตอรอลลดลง - ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่าน Cytochrom P450 (CYP 450) เนื่องจากบัวบกมีฤทธิ์ยับยังเอนไซม์ CYP 2C9 และ CYP 2C19 |
|
อาการไม่พึงประสงค์ |
ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง ท้องอืด และปัสสาวะบ่อย |
|
|
|