บัวบก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica Urban.
ชื่อวงศ์ APIACEAE (UMBELLIFERAE)
ชื่อสามัญ Asiatic Pennywort, Gotu kola
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ ผักหนอก
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ปะหนะเอขาเด๊าะ
ภาคกลาง บัวบก
ภาคใต้ ผักแว่น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก อยู่ในจำพวกผัก ประเภทเลื้อย มีลำต้นเลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ เรียกว่า ไหล มีรากงอกออกตามข้อของลำต้น

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบงอกเป็นกระจุกออกจากข้อ ข้อละ 2-10 ใบ ลักษณะใบรูปไต รูปร่างกลม ฐานใบโค้งเว้าเข้าหากัน ขอบเป็นคลื่นหยักเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียวมีขนเล็กน้อย ก้านใบสีเขียวยาว

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มตามซอกใบ มีประมาณ 2-5 ช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 4 – 5 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงเข้มอมแดงสลับกัน ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.5-5 ซม. ริ้วประดับจะมีประมาณ 2-3 ใบ เกสรตัวผู้นั้นจะสั้น

ผล เป็นผลแห้งแตก ลักษณะแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 3-4 มม. เมล็ดสีดำ
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสขมเย็น เป็นยาดับร้อน ลดอาการอักเสบบวม แก้ปวดท้อง แก้ดีซ่าน แก้บิด ใบสดต้มกับน้ำซาวข้าวดื่มแก้นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
ต้น เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด ปวดศีรษะข้างเดียว ขับปัสสาวะ แก้เจ็บคอ เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน แก้ช้ำใน
เมล็ด รสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ
ทั้งต้น รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้โรคปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค แก้ตับอักเสบ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

บัวบก, ต้น

บัวบก, ใบ
 
บัวบก, ดอก
 

บัวบก, ดอก

บัวบก, herbarium ตัวอย่างที่ 1
 
บัวบก, herbarium ตัวอย่างที่ 2
 

บัวบก, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
บัวบก. (มปป.)สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttp://www.samunpri.com/%E0%B8%9A%E0%B 8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%81
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 244.