English
image
หลักสูตรปริญญาโทเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ)

หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

หลักสูตร


ชื่อหลักสูตร หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Master of Pharmacy Program in Pharmaceutical and Health Consumer Protection (Revised 2023)
แบนเนอร์
Degree awarded ชื่อเต็มภาษาไทย
    เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
    Master of Pharmacy (Consumer Protection in Pharmaceutical and Health Consumer Protection)
ชื่อย่อภาษาไทย
    ภ.ม. (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ
    M.Pharm. (Consumer Protection in Pharmaceutical and Health Consumer Protection)
Awarding body & teaching institution คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม
วันที่หลักสูตรมีผลใช้งาน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 จะเริ่มใช้ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ โดยมติเวียนครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566
สภาวิชาการให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
Program learning outcomes (PLOs)
Benchmark related to PLOs
แผนการศึกษา แผน 1 แบบวิชาการ จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
เกณฑ์ผู้สมัครแต่ละแผน แผน 1 แบบวิชาการ
1) สำเร็จปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต และต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
2) มีผลการศึกษาจากระดับปริญญาตรีเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
3) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
4) ผู้มีคุณสมบัติอย่างอื่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์
โครงสร้างหลักสูตร แผน 1 แบบวิชาการ จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
วิชาเลือก(จำนวนไม่น้อยกว่า) 4 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์(จำนวนไม่น้อยกว่า) 14 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1) เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานรัฐ และเอกชน
2) ผู้สอน นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ในหน่วยงานราชการ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์
3) นักวิชาการที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

Program Structure


แผน 1 แบบวิชาการ

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
563 501 ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ 2(2-0-4)
563 502 การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ 2(2-0-4)
563 503 กระบวนการกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ 2(2-0-4)
563 504 การจัดการความเสี่ยงและเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภค 3(3-0-6)
563 506 นโยบายด้านยาและสุขภาพ 2(2-0-4)
รวมจำนวน 11


ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
563 505 การคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน 2(2-0-4)
563 507 ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ 3(3-0-6)
563 508 สัมมนาทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ 1(0-3-0)
563 509 การจัดการโครงการวิจัย 1(0-3-0)
563 xxx วิชาเลือก 4
รวมจำนวน 11


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
563 551 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 7
รวมจำนวน 7


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
563 551 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 7
รวมจำนวน 7




ระบุเวลาปกติ และเวลาเรียนสูงสุด แยกตามแผนการศึกษา


ระยะของหลักสูตร 2 ปี สามารถศึกษาได้ไม่เกิน 5 ปี





รายชื่อ course พร้อม course description


562 512 การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
(Health Technology Assessment)


     ความสำคัญของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในการบริหารจัดการระบบยา การประเมินต้นทุนด้านสุขภาพ การประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพ แบบจำลองสถานะทางสุขภาพ การประยุกต์เครื่องมือการวิเคราะห์ความคุ้มค่า ในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ความไว การประเมินการศึกษาวิจัยทางเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

     The importance of health technology assessment in drug system management; assessment of healthcare cost; assessment of health outcomes; models for health status assessment; application of cost-effectiveness tools in assessing health technology rational discussion sensitivity analysis; evaluation of research studies in health technology.

3(3-0-6)
562 516 สถิติเพื่อการวิจัย
(Statistics for Research)


     หลักการและแนวคิดของสถิติในงานวิจัยด้านสุขภาพและสังคมศาสตร์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ การเลือกวิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

     Principles and concepts of statistics in health and social science research, mean comparison, analysis of variance, correlation analysis, multiple regression analysis, non-parametric statistics; selection of statistical methods for data analysis; data analysis with statistical programs; interpretation of analyzed data.

2(2-0-4)
563 501 ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(System of Pharmaceutical and Health Consumer Protection)


     แนวคิดและระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพในระดับชุมชน และสังคม นโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การจัดการความขัดแย้ง การประเมินและพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่ตอบสนองต่อสังคม เครื่องมือและบทบาทเภสัชกรในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

     Concept and system of pharmaceutical and health consumer protection at community and society level; consumer protection policy; conflict management; evaluation and development of pharmaceutical and health consumer protection system in response to societal needs; tools and pharmacists’ roles in consumer protection in digital era.

2(2-0-4)
563 502 การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(Application of Epidemiology in Pharmaceutical and Health Consumer Protection)


     การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ระบบจัดการสัญญาณอันตรายจากการใช้ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ การวัดทางระบาดวิทยา รูปแบบและวิธีการดำเนินงานวิจัยทางระบาดวิทยา การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาในการคัดกรองและสอบสวนปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ทางระบาดวิทยา และแปลผลเพื่อใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ

     Safety surveillance for drug and health products; signal management system for safety signal from the use of medicines and health products; epidemiological measurements; type of studies and research approaches in epidemiology; application of epidemiology in the screening and investigation of pharmaceutical and health consumer protection issues; data analysis with epidemiological statistics and result interpretation for the use in the consumers protection in drug and health.

2(2-0-4)
563 503 กระบวนการกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(Legal Procedure for Consumer Protection in Pharmaceutical and Health)


     หลักกฏหมายทั่วไป การตีความการใช้กฎหมาย สาระสำคัญของกฏหมายปกครอง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค กระบวนการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค การฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมายในระบบศาลยุติธรรมและศาลปกครอง บทบาทของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การสืบสวนเรื่องร้องเรียน การวางแผนและประสานการตรวจสอบ การตรวจค้น การยึดอายัด การประมวลพยานหลักฐาน การทำบันทึกเอกสารทางกฎหมาย การออกคำสั่งทางปกครอง การเปรียบเทียบปรับ

     General principle of law; legal interpretation; the essence of administrative acts; consumer protection law; legal process for consumer protection; legal litigation in the judicial and administrative courts; roles of the legal competent officer; complaint investigation; planning and coordinating audit activities; searches; seizes; evidence processing; legal document records; issuing administrative orders; fine payment.

2(2-0-4)
563 504 การจัดการความเสี่ยงและเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภค
(Risk Management and Consumer Empowerment)


     ความสำคัญของการจัดการความเสี่ยง กระบวนการจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ การระบุความเสี่ยง การค้นหาความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยง กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีการต่าง ๆ การสื่อสารความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพ การประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดทำข้อมูลและออกแบบสื่อเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคผ่านการใช้สื่อด้านสุขภาพ

     The importance of risk management; risk management processes for health products and services; risk identification; risk investigation; risk analysis; risk assessment; risk prioritization, risk management strategies; risk communication; health literacy; application of data preparation and media design for consumer protection in drug and health; consumer empowerment through health media.

3(3-0-6)
563 505 การคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
(Consumer Protection in Community)


     แนวคิดและทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา หลักการทำงานในชุมชน การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประเด็นสุขภาพในชุมชน การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคโดยชุมชนมีส่วนร่วม

     Consumer behavior concept and theories in psychology, sociology and anthropology; work practice in community; analysis of factor affecting to community health; problem prioritization; project for consumer protection development with community participation.

2(2-0-4)
563 506 นโยบายด้านยาและสุขภาพ
(Drug and Health Policy)


     ความสำคัญของนโยบายสุขภาพ ความเชื่อมโยงระหว่างระบบสุขภาพและนโยบายสุขภาพ แนวคิดและทฤษฏีการกำหนดนโยบาย นโยบายสาธารณะ กระบวนการนโยบาย การพัฒนานโยบายสุขภาพ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบาย เครื่องมือในการประเมินนโยบาย ความเป็นธรรมของนโยบายสุขภาพ การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ทิศทางการพัฒนานโยบายด้านยาและสุขภาพ

     The importance of health policy; the relationship between health systems and health policy; concepts and theories of policy making; public policy; policy process; health policy development; policy implementation; policy analysis; policy assessment tools; fairness in health policy; policy brief preparation; direction of drug and health policy development.

2(2-0-4)
563 507 ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(Research Methodology in Pharmaceutical and Health Consumer Protection)


     ขั้นตอนการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ การกำหนดปัญหาการวิจัย และหัวข้อวิจัยทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ การวางแผน การออกแบบการวิจัย ตัวแปรและข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูล สถิติสำหรับงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย การเผยแพร่งานวิจัย จริยธรรมในงานวิจัย

     Systematic approaches in research conduct; selection of research problems and topics related to pharmaceutical and health consumer protection; research planning; research design; variables and data; population and sample groups; data collection; statistics for research; for research; data analysis; data interpretation; research proposal preparation; research work dissemination; research ethics.

3(3-0-6)
563 508 สัมมนาทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
(Seminar in Pharmaceutical and Health Consumer Protection)


     การค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านยาและสุขภาพ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และอื่นๆ การประเมินข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การอภิปรายและวิจารณ์อย่างมีเหตุผล

     Searching and compiling of data related to pharmaceutical and health consumer protection; sources of data including textbooks, journals, printed materials and others; data evaluation; presentation of collected data; rational discussion and criticism.

1(0-3-0)
563 509 การจัดการโครงการวิจัย
(Research Project Management)


     การพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์ การทบทวนวรรณกรรม การค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี ประเด็นที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ การนำเสนอข้อมูล การอภิปรายและวิจารณ์อย่างมีเหตุผล

     Developing thesis topic; literature review; searching and gathering concepts, theories and important issues in pharmaceutical and health consumer protection related to the thesis; analyzing and synthesizing issues related to thesis; thesis proposal writing; presentation of information; rational discussion and criticism.

1(0-3-0)
563 511 การทบทวนวรรณกรรมเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
(Systematic Reviews for Evidence Synthesis)


     ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ วิธีการสืบค้น การคัดเลือกงานวิจัย การสกัดข้อมูล การประเมินคุณภาพของข้อมูลจากการศึกษาทางระบาดวิทยา การวิเคราะห์อภิมาน

     The importance of systematic reviews; systematic review process; searching methods; research selection; data extraction; quality assessment of epidemiological study; meta-analysis.

2(2-0-4)
563 512 การประยุกต์ใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
(Application of Law for Consumer Protection)


     การประยุกต์ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพโดยใช้หลักวิชาความรู้และจรรยาบรรณ การเปรียบเทียบกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายวิธีพิจารณาความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามระบบศาลไทย การเบิกความเป็นพยานในศาล ทักษะในการป้องกันแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

     Application of law related to consumer protection in drug and health using the related principles and ethics; comparison of law related to consumer protection, law and procedural code related to the conducts of pharmacists as officers as designated by law and relevant organizations; lawful procedure for consumer protection as per the Thai Court system; in-court testifying, skills for the prevention and solving problems and impacts resulted from duties.

2(2-0-4)
563 513 การสื่อสารความเสี่ยงด้านยาและสุขภาพ
(Risk Communication in Pharmaceutical and Health)


     หลักการสื่อสารความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ทฤษฎีที่ใช้ในการสื่อสารความเสี่ยง การสื่อสารตามประเภทของความเสี่ยง การกำหนดช่องทางการสื่อสารความเสี่ยง การสื่อสารความเสี่ยงในระดับชุมชน และระดับนโยบาย การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารความเสี่ยง การแก้ไขภาวะวิกฤต

     Principles of risk communication for health products; theories in risk communication; communication based on type of risk; establishing risk communication channels; risk communication in community level and policy level; stakeholder analysis; organizations involved in risk communication; crisis resolution.

2(2-0-4)
563 514 การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ
(Standardization of Health Products and Services)


     ความสำคัญของมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการในสังคม บทบาทของมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพในงานคุ้มครองผู้บริโภค หลักการและวิธีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพในระดับสากลและในประเทศไทย การสื่อสารมาตรฐานให้กลุ่มเป้าหมาย บทบาทของผู้บริโภคและผู้ประกอบการในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการ การบังคับใช้มาตรฐานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่มีหลายมาตรฐาน

     The importance of product and service standards in society; the role of health product and service standards in consumer protection; principles and methods for setting standards for health products and services at international and national level in Thailand; standard communication to the target audience; the role of consumers and entrepreneurs in the development of product and service standards; standard enforcement and relevant agencies; multi-standard product management.

2(2-0-4)
563 551 วิทยานิพนธ์
(Thesis)


     การดำเนินการวิจัยในหัวข้อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านยาและสุขภาพภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

     Conducting a specific research topic related to pharmaceutical and health consumer protection under the supervision of a thesis advisor.

มีค่าเทียบเท่า 14 หน่วยกิต









images/msg_ico_n.png
images/msg_ico.png