สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
วิทยากรบรรยายและนำชม :
คุณจิราภรณ์ ยังอยู่ดี
ดอยอ่างข่าง เดิมเป็นไร่ฝิ่นและไร่เลื่อนลอย
ในปี พ.ศ.2512
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอุดยเดช
ทรงเสด็จเยี่ยมชาวเขาในพื้นที่
และทรงดำริจัดตั้งโครงการหลวงส่งเสริมการเกษตรกรรม
เพื่อลดการปลุกฝิ่นและลดการทำลายป่าต้นน้ำ
โดยเริ่มจากการวิจัยการปลูกไม้ผลในเขตหนาว
ตั้งสถานีเกษตรอ่างขาง
และได้รับพันธุ์พืชเมืองหนาวจากประเทศมหามิตร
คณะดูงานได้เข้าศึกษาเยี่ยมชมในส่วนของโรงงานผลิตชาและโรงงานสมุนไพร
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ไร่ชาและโรงงานชา
วิทยากร :
คุณรัฐวิชญ์ และมิสเตอร์หลาน
ผู้เชี่ยวชาญด้านชาชาวไต้หวัน
แปลงชาของโครงการหลวงจะจัดสรรให้ชาวเขาดูแลครัวเรือนละ
1 ไร่ ดูแลรับผิดชอบเข้ามาเก็บใบชาจำหน่ายให้ทางสถานี
สายพันธุ์ของชา ต้นชามี
3 สายพันธุ์ ได้แก่
1.
ชาจีน (Camellia sinensis var. sinensis)
มีถิ่นกำเนิดในแถบยูนาน
ใช้ทำชาจีน ชาแดง
เป็นชนิดที่ส่งเสริมให้ปลูก
โดยสายพันธุ์ที่ปลูกคือ เบอร์ 12
และสายพันธุ์ก้านอ่อน
2. ชาอัสสัม (Camellia sinensis var.
assamica) มีถิ่นกำเนิดในแถบพม่า ไทย
ลาว ศรีลังกา ใช้ทำชาดำ ทำเมี่ยง (ใช้ใบที่ไม่แก่มาก)
3.
ชาเขมร (Camellia sinensis var. indo-china)
มียอดสีแดงรสฝาด
ไม่นิยมนำมาทำเป็นชาเพื่อดื่ม
ชาแต่ละต้นมีอายุได้มากกว่าร้อยปี
ทุกๆ 3-4 ปี จะตัดกิ่งให้เหลือแต่ตอ
เรียกว่าทำสาว
เพื่อให้แตกกิ่งและใบใหม่ รดน้ำจากท่อน้ำที่ต่อมาจากลำห้วย
ไร่ชา |
ต้นชา |
การเก็บเกี่ยวชา การผลิตชาของไทยจะเหมือนของจีนและไต้หวัน คือ เก็บชาตั้งแต่ 7.00 น จนถึงไม่เกิน 14.00 น เนื่องจากแสงมีผลต่อผลผลิต ที่อ่างข่างค่อนข้างมืดเร็วหากเก็บสายกว่านี้ใบชาจะไม่คายน้ำ ไม่สามารถผลิตชาอู่หลงและชาแดงได้ ช่วงเวลาที่สามารถเก็บชาคือเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน ช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์จะไม่มีการเก็บใบชา เพราะต้องการให้ชาพักตัวและในเวลาดังกล่าวจะเกิดน้ำค้างแข็ง ไม่เหมาะกับการเก็บใบชา ชาที่เก็บในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมจะมีคุณภาพดีที่สุด เนื่องจากมีความชื้นต่ำ ชาที่เก็บในฤดูฝนจะมีความชื้นสูง คุณภาพไม่ดี การเก็บจะเก็บยอดละ 3 ใบ คือ ใบอ่อน ใบที่สองและสาม ยอดชาต้องไม่เปียกน้ำ ในการผลิตชาขาวจะใช้แต่ใบอ่อนสุดเท่านั้น ใบชา 5 กิโลกรัมผลิตเป็นชาได้ 1 กิโลกรัม |
การแปรรูปชา
1.
ชาเบอร์ 12 มีรูปแบบการแปรรูป 4
แบบ ดังนี้
1.1) ชาเขียว
มีกลิ่นสาหร่าย (ต่างจากแหล่งผลิตอื่นที่มีกลิ่นข้าวคั่ว)
1.2) ชาอู่หลง
มีกลิ่นดอกไม้
1.3) ชาแดงหรือชาดำ
มีกลิ่นผลไม้สุกหรือกลิ่นน้ำผึ้ง
2. ชาก้านอ่อน
ให้ผลผลิตค่อนข้างน้อยแต่คุณภาพดี
ใช้ผลิตเฉพาะชาอู่หลง
ชาแดง ชาอู่หลง
และชาเขียว ตามลำดับ
กระบวนการผลิตชา
1.
การผึ่งชา หลังจากเก็บใบชา
จะนำไปผึ่งชานาน 10-12 ชั่วโมง
โดยผึ่งบนผ้ากลางแจ้ง
พลิกกลับยอดชาทุก 25-30 นาที ประมาณ 2-3
ครั้ง
จากนั้นนำไปผึ่งในกระด้งที่ห้องควบคุมอุณหภูมิ
25-27°ซ ความชื้น 70-80% พลิกกลับยอดชา 3
ครั้ง ครั้งที่ 1-2 ทุก 2 ชั่วโมง
ครั้งที่ 3 ทุก 1.5 ชั่วโมง
แล้วนำไปเขย่าเพื่อไล่กลิ่นเหม็นเขียวประมาณ
16 นาที
จะได้ยอดชาที่มีกลิ่นหอมเต็มที่
2.
การคั่วชา อุณหภูมิที่ใช้คือ
350-380°ซ นาน 6-7 นาที
จนสุกกรอบเล็กน้อย
|
|
|
การนวดชาในถุงนวดชา |
การผลิตชาเขียว ชาอู่หลง
และชาแดง มีขั้นตอนแตกต่างกัน
ดังนี้
1. ชาเขียว หลังจากเก็บใบชา
จะนำมาคั่ว (หากเป็นชาเขียวของญี่ปุ่นจะใช้วิธีนึ่ง)
จากนั้นนำไปนวดในกระทะครึ่งวงกลม
แล้วนำไปอบแห้ง
2.
ชาอู่หลง หลังจากเก็บใบชา
จะนำมาผึ่งให้ค่อย ๆ คายน้ำ 10-12
ชั่วโมง จากนั้นนำไปคั่ว (หลังจากผึ่งแล้วทางโครงการอาจจะไปคั่วที่เวลา
20.00 น.) แล้วนำไปนวดและผึ่ง ทำซ้ำ 30-40
รอบ จากนั้นนำไปคั่วจนสุกดี
ใบชาจะกรอบเล็กน้อย
3. ชาแดง
หลังจากเก็บใบชา
จะนำไปผึ่งให้ค่อย ๆ คายน้ำ หากเก็บเกี่ยวชาวันนี้
พรุ่งนี้เช้าจึงจะนำมานวดให้เซลล์แตก
(เพื่อให้มีสี
กลิ่นและรสที่ดีเมื่อชง) จากนั้นนำไปผึ่งอีก
1 วัน รวมเป็น 3 วัน
เพื่อให้เกิดการหมักเต็มที่
จากนั้นนำไปอบแห้ง
2. โรงงานสมุนไพร
วิทยากร : คุณสุวรรณ
เภสัชกรแผนโบราณ และคุณวีระพงษ์
นักศึกษาการอาหาร
มีการผลิตชาสมุนไพร 2 ชนิด คือ
ชาเจียวกู่หลาน
และชาปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า
2.1)
ปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า หรือบัวดอย (Aspidistra
elatior วงศ์ Convallariaceae)
เป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน
โตช้า แทงใบในฤดูฝน
ชอบแสงรำไรใต้ร่มไม้ใหญ่ สรรพคุณ ภูมิปัญญาชาวเหนือแถบดอยปุย
ดอยผ้าห่มปก ดอยอินทนนท์
และลำปาง
จะนำใบและก้านมาปิ้งไฟแล้วต้มดื่ม
ใช้บำรุงกำลัง แก้ปวดหลัง
เจ็บเอว
กล่าวกันว่าทำให้ผู้เฒ่าอายุ 80
ปีมีภรรยาสาวได้ การเก็บเกี่ยว
เก็บใบจากต้นที่อายุ 4 ปี
เก็บได้ปีละคร้งเดียวในเดือนกันยายน
ใช้วิธีถอนจากต้นเพื่อกระตุ้นรากให้แตกใบใหม่ในปีหน้า
หากใช้มีดตัด
ปีหน้าจะไม่แทงใบใหม่ออกมา
มีดอกอยู่ระดับเดียวกับพื้นดินคล้ายดอกบัวเล็ก
ๆ |
การผลิตชา
ล้างใบและก้านให้สะอาด ใช้มีดสับเป็นชิ้น |
ผึ่งแห้ง |
อบที่ 70-80°ซ นาน 16 ชั่วโมง |
คั่วที่ 100°ซ นาน 40 นาที แล้วผึ่งให้เย็น บรรจุซองชา |
2.2) เจี่ยวกู่หลาน (Gynostemma pentaphyllum วงศ์ Cucurbitaceae)
เป็นไม้เลื้อย สรรพคุณ ดื่มวันละครั้ง
ลดความดัน
ห้ามผู้ป่วยความดันต่ำดื่ม
ดื่มแล้วห้ามขับรถเพราะจะทำให้ง่วงนอน
ห้ามผู้ที่เป็นไมเกรนดื่ม การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้งต่อปี
โดยตัดจนเหลือต้นสูงประมาณ 30
เซนติเมตร เหนือดิน
เพื่อให้แตกกิ่งและใบใหม่ได้ เมื่อเก็บเกี่ยวครั้งแรกแล้วอีก
4 เดือนจะเก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง |
การผลิตชา
ล้าง |
คัดแยก |
สับเป็นชิ้นหยาบ |
นวด |
นำไปผึ่ง |
ผึ่งแดด |
อบแห้ง |
คั่ว 100°ซ นาน 50-60 นาที |
โม่ |
บรรจุซอง |
จากนั้นเยี่ยมชมพื้นที่โดยรอบโครงการหลวงฯ
พบสมุนไพรที่น่าสนใจ เช่น
Echinacea sp. (วงศ์ Asteraceae) |
Aconitum sp. (วงศ์ Ranunculaceae) |
แปะก๊วย (Ginkgo biloba วงศ์ Ginkgoaceae) |
ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ผู้นำชมการดูงานและเอื้อเฟื้อภาพประกอบขั้นตอนการผลิตสมุนไพร มา ณ ที่นี้
Home Page
นี้สร้างเมื่อเมษายน 2561
กลับไปหน้า
การศึกษาดูงานสมุนไพร ณ
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
และบ้านไม้หอม