การศึกษาพันธุ์ไม้
ณ อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี
วันที่ 20
กุมภาพันธ์ 2556
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ในเขตท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 มีเนื้อที่ประมาณ 700,000 ไร่ หรือ 1,120 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,249 เมตร มีเขาช้างเผือกเป็นยอดเขาสูงสุด เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยต่างๆ ที่ไหลลงสู่ที่ราบทิศตะวันออกลงสู่เขื่อนเขาแหลม และแม่น้ำแควน้อย |
พืชชั้นต่ำ
กูดดอย (Brainea insignis (Hook.)
J.Sm วงศ์ Blechnaceae)
กุ๊ก (Alpinia blepharocalyx K.Schum.
วงศ์ Zingiberaceae)
ดอกจิ้มน้ำพริกรับประทานได้
ข่าคม (Alpinia zerumbet (Pers.)
Burtt & R.M.Sm. วงศ์ Zingiberaceae)
ช่อดอกนำมารับประทานได้
ข้าวเย็น (Smilax sp.
วงศ์ Smilacaceae)
ต้นดอกไม้กวาด (วงศ์
Gramineae) ใช้ส่วนช่อดอกทำไม้กวาด
ตองก้อ หรือ ค้อ (Livistona
speciosa Kurz วงศ์ Palmae) ใบใช้มุงหลังคา
ไผ่ผากมัน (Gigantochloa
hasskarliana (Kurz) Backer ex K.Heyne วงศ์ Gramineae)
หน่อมีขนสีดำ รับประทานไม่ได้
ไผ่เฮียะ (Cephalostachyum
virgatum Kurz วงศ์ Gramineae)
ลำต้นใช้ทำด้ามไม้กวาด
เพราะต้นตรง
หน่ออ่อนรับประทานได้
ว่านสากเหล็ก (Molineria
latifolia Herb.ex Kurz วงศ์ Hypoxidaceae)
สาดแดง (Phrynium pubinerve Blume
วงศ์ Marantaceae) พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ดอกสีแดง
ก้านใช้ทำเครื่องจักรสาน
สิงโตมูเซอ (Bulbophyllum
sp. วงศ์ Orchidaceae)
ต้นและดอกมีขนาดเล็กมาก
หนามหวาย (Calamus sp.
วงศ์ Palmae)
พืชใบเลี้ยงคู่
ก่อ (วงศ์ Fagaceae)
มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะคล้ายๆ
กัน ต้องสังเกตจากลักษณะของผล
ก่อรัง ก่อแป้น รับประทานได้
รสชาติคล้ายเกาลัด
ก่อหรั่งผลมีหนามถี่ๆ
ก่อแป้นผลมีหนามห่างๆ
ก่อแดง
ก่อกระด้างรับประทานไม่ได้
โคลงเคลง หรือ
มังเคร่ (Melastoma sp. วงศ์ Melastomataceae)
ดู่ขาว หรือ สะตือ
(Crudia chrysantha (
แดงน้ำ หรือ มันปู
(Glochidion lanceolarium (Roxb.) Voigt วงศ์ Euphorbiaceae)
ต้นสามใบ (Euodia lepta (Spreng.)
Merr วงศ์ Rutaceae)
ใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก
ต่อไส้ (Elaeocarpus griffithii (Wight)
A.Gray วงศ์ Elaeocarpaceae)
ผลคล้ายมะปรางแต่ลูกเล็ก
ทะโล้ หรือ มังตาน
(Schima wallichii (DC.) Korth. วงศ์ Theaceae)
เปลือกต้นมีขนหรือ fiber เป็นเสี้ยน
หากถูกผิวจะคัน
เป็นต้นไม้ในวรรณคดีเรื่องศรีธนญชัย
ใช้เผาศพศรีธนญชัย
ปลายสาน (Eurya acuminate DC.
var. acuminate วงศ์ Theaceae)
ต้นคล้ายข้าวเม่านก นกชอบกินผล
พะเนียง (Archidendron jiringa
(Jack) I.C.Nielsen วงศ์ Leguminosae-Mimosoideae)
ผลเรียกลูกเนียง (ใต้)
ใช้เป็นอาหาร
แต่คนเป็นโรคไตไม่ควรรับประทาน
มะลิเครือ หรือ
มะลิไส้ไก่ (Jasminum sp. วงศ์ Oleaceae)
เป็นไม้เลื้อย ดอกสีขาว ผลสีดำ
มะสะล่า หรือ
อบเชย (Cinnamomum sp. วงศ์ Lauraceae)
ยอดอ่อนจิ้มน้ำพริก
เลือดควาย (Knema sp.
วงศ์ Myristicaceae)
เลือดม้า (Knema sp.
วงศ์ Myristicaceae)
เสม็ดแดง หรือ
เม็ก (Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum
วงศ์ Myrtaceae) กลิ่นหอมและรสมัน
ยอดอ่อนใช้จิ้มน้ำพริก
หนาดป่า หรือ
หญ้าดอกคำ (Crassocephalum crepidioides (Bentham) S.
เหมือดคน (Helicia sp.วงศ์
Proteaceae) ผลขุรขระคล้ายผลมะกรูด
เป็นอาหารกระรอก
Home Page
นี้สร้างเมื่อ มีนาคม 2556
กลับไป