header.gif (114675 bytes)

การศึกษาการแพทย์พื้นบ้าน และพันธุ์ไม้สมุนไพร
ณ เกาะช้าง จังหวัดตราด

วันที่ 17-19 กันยายน 2553

      เกาะช้าง เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย   เกาะช้างและเกาะใกล้เคียงมากกว่า 40 เกาะ ถูกจัดรวมเป็นอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2525 คลอบคลุมพื้นที่ 406,250 ไร่ หรือ 650 ตารางกิโลเมตร โดยเป็นพื้นน้ำประมาณ 458 ตารางกิโลเมตร หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่   ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเกาะช้างมีลักษณะเป็น ภูเขาเกือบตลอดทั้งเกาะ   มีที่ราบตามชายฝั่งทะเล   สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้น เป็นป่าที่ค่อนข้างห่างจากชายฝั่ง   ตามชายหาดป่าชายหาด ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีพรรณไม้ขึ้นอยู่ไม่กี่ชนิด   ตามชายฝั่งที่เป็นดินเลนบริเวณอ่าวและปากคลองลำธารต่างๆ จะพบป่าชายเลนและป่าพรุ

        การศึกษาในครั้งนี้ ได้เรียนรู้ความรู้ทางการแพทย์จากแพทย์พื้นบ้าน และศึกษาพันธุ์ไม้ในบริเวณน้ำตกคลองพลู

        บนเกาะช้างมีแพทย์พื้นบ้านชื่อ นายมูล เจตะปิก อายุ 75 ปี ปัจจุบันได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรของชุมชน   โดยประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียน และประสบการณ์การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ให้กับชนรุ่นหลัง  และต้องการให้คนทั่วไปสามารถพึ่งพาตนเองได้ยามป่วยไข้

IMG_0946 (doctor).jpg (107585 bytes) IMG_0944 (doctor home).jpg (106072 bytes)
            IMG_0924 (patient note).jpg (85414 bytes) IMG_0926 (medicine).jpg (113791 bytes)       
         IMG_0947 (discussion).jpg (98548 bytes) IMG_0913 (fermented water).jpg (124813 bytes)

ตัวอย่างภูมิปัญญาของหมอมูล ได้แก่

  • สมุนไพรน้ำหมักชีวภาพเพื่อลดไข้  

    • สรรพคุณ แก้ไข้ทุกชนิด ทำให้โลหิตเย็น แก้ไข้หวัด 2009 แก้ปากเหม็น รำมะนาดแมงกินฟัน (อมแล้วกลืน)  ทำให้น้ำดีให้มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร ช่วยให้ธาตุไฟแข็งแรง ขับเหงื่อ ขับประจำเดือน แก้ตกขาว

    • วิธีทำ ใช้น้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน สมุนไพร 3 ส่วน น้ำ 5 ส่วน (ใช้น้ำคลองจากเขาที่ไม่มีคนเข้าไปใช้   หรือน้ำประปาที่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ให้คลอรีนหมดก่อน) สมุนไพรที่ใช้มี 9 ชนิด เช่น ราชดัด ปลาไหลเผือก เป็นต้น  หมักในโอ่งปิดฝา เปิดคนทุกวัน เอาข้างล่างขึ้นข้างบน  หากหมักได้ที่ สมุนไพรจะจม  หมักนาน 3 เดือน จึงสามารถนำมาใช้รักษาได้  ถ้าหมักนานเป็น 3 ปี 5 ปี 10 ปีก็ได้ 10 ปีได้ยิ่งดี

    • กากสมุนไพรที่เหลือจากการหมัก นำมาอบแห้ง บดเป็นผง อาจเติมวิตามิน บรรจุแคปซูล ใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพ

IMG_0921 fermented water-3).jpg (61100 bytes)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

IMG_0958 (fermentation).jpg (126829 bytes)
  • น้ำหมักขยะ  นำขยะ เศษผัก เศษอาหาร (ล้างไขมันออกก่อน) นำมาหมัก 3 เดือน มาใช้ล้างผ้า ล้างผัก ไม่ต้องใช้ผงซักฟอก
    เมื่อหมักน้ำหมัก บริเวณที่หมักจะไม่มีแมลง มด จิ้งจกหนีหมด   น้ำหมักไหลลงบ่อปลา ปลาไม่ตาย  
    • น้ำหมัก 1 ส่วน น้ำ 200 ส่วน ไล่แมลง ไล่ปลวก เป็นปุ๋ย
    • น้ำหมัก 1 ส่วน น้ำ 500 ส่วน รดต้นไม้ใบอ่อน ไม้ดอก ไม้ประดับ
    • น้ำหมัก 1 ส่วน น้ำ 300-400 ส่วน รดต้นไม้ต้น
    • น้ำหมัก 1 ส่วน น้ำ 100 ส่วน ล้างส้วม ราดพื้นห้องน้ำ รอ 15 นาที แล้วขัด จะหมดกลิ่น ใช้ราดถังขยะที่เหม็นมีไข่แมลงวัน ราดท่อระบายน้ำไม่ให้มีกลิ่น

   IMG_0955 (citronella).jpg (142957 bytes)   IMG_1000 (steam ditill).jpg (126590 bytes) เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย

            IMG_0985 (trigonostemon)_resize.jpg (20104 bytes) IMG_0986 (trigonostemon)_resize.jpg (22563 bytes) โลดทะนงแดง

  IMG_0937 (coconut mill).jpg (70167 bytes)  IMG_0934 (compress).jpg (87180 bytes) เครื่องขูดมะพร้าว (ซ้าย) และเครื่องบีบน้ำมันมะพร้าว (ขวา)

 IMG_0977 (herbal garden).jpg (107297 bytes) IMG_0972 (herbal garden).jpg (149046 bytes)

        ตัวอย่างสมุนไพรอื่นๆ ที่ปลูกอยู่รอบบ้านหมอมูล เช่น

  • อบเชยเทศ (Cassia zaylanica Nees วงศ์ Lauraceae)
    IMG_0943 (cinnamon)_resize.jpg (22324 bytes)
  • โด่ไม่รู้ล้ม (Elephantopus scaber L. วงศ์ Compositae)
    IMG_0996 (elephantopus)_resize.jpg (22697 bytes)
  • เสลดพังพอน (Clinacanthus nutans (Burn.f.) Lindau วงศ์ Acanthaceae)
    IMG_0984 (clinacanthus)_resize.jpg (21195 bytes)
  • ปอบิด  (Helicteres isora L. วงศ์ Sterculiaceae)
    IMG_1036 (Helicteres)_resize.jpg (19613 bytes)

 

 

 

 

 

 

 

      พันธุ์ไม้สมุนไพรบริเวณน้ำตกคลองพูล เช่น จิกนมยาน, กฤษณา, มะซาง, เถากระไดลิง, ชมพู่น้ำ, ปลาไหลเผือก, เปล้าน้อย, แสลงใจ, พญาปล้องทอง, สะเดาป่า เป็นต้น

IMG_1509 (waterfall).jpg (148200 bytes) IMG_1450 (waterfall).jpg (140373 bytes)
IMG_1454 (waterfall).jpg (159525 bytes) IMG_1462 (waterfall).jpg (157427 bytes) IMG_1465 (waterfall).jpg (150845 bytes)

  • จิกนมยาน (Barringtonia macrocarpa Hassk. วงศ์ Barringtoniaceae)     
    IMG_1489 (barringtonia)_resize.jpg (22427 bytes)
  • สำรอง หรือ พุงทะลาย (Scarphium scaphigerum (G.Don) Guib. & Planch. วงศ์ Sterculiaceae)      IMG_1498 (Scaphium)_resize.jpg (24596 bytes) IMG_1500 (scaphium)_resize.jpg (23735 bytes)
  • พญาปล้องทอง หรือ ตูมกาแดง (Strychnos minor Dennst. วงศ์ Strychnaceae)   IMG_1532 (strychnos)_resize.jpg (20754 bytes)IMG_1533 (strychnos)_resize.jpg (22387 bytes)
  • ปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia Jack วงศ์ Simaroubaceae)
      IMG_1499 (eurycoma)_resize.jpg (25332 bytes)    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       พันธุ์ไม้สมุนไพรบริเวณชายทะเล เช่น

 


Home Page นี้สร้างเมื่อ ตุลาคม 2553
กลับไป Home Page กิจกรรมของภาควิชาเภสัชเวท มหาวิทยาลัยศิลปากร