หุบป่าตาด
หุบป่าตาด
เป็นหุบเขาที่เกิดจากการยุบตัวของภูเขาหินปูน
สันนิษฐานว่าในอดีตบริเวณนี้อาจเป็นทะเลหรือแหล่งน้ำ
เนื่องจากพบฟอสซิลของหอยน้ำจืดฝังอยู่หิน
หุบนี้พบโดยพระครูสันติธรรมโกศล
(หลวงพ่อทองหยด)
เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ.2522
เดิมไม่มีทางเข้า
จะต้องปีนข้ามเขาแล้วค่อยๆ
ปีนลงไป ต่อมาปี พ.ศ.2527
กรมป่าไม้จึงเจาะถ้ำที่ตันให้ทะลุเข้าไปในหุบได้
ภายในถ้ำเป็นที่อาศัยของค้างคาวกินแมลง
ค้างคาวจะออกหากินประมาณ 18:00 น
ถ้ำจะมีหินย้อยที่สวยงาม
ภายในหุบมีต้นตาดจำนวนมาก
พืชภายในหุบจะได้รับแสงแดด
ประมาณวันละ 2-3 ชั่วโมง
พืชในหุบจะมีลำต้นสูงเพื่อแย่งกับรับแสงแดด
ผนังหุบยังมีช่องเล็กๆ
ซึ่งเลียงผาจะใช้นอนพัก
สัตว์อื่นๆที่พบถายในหุบ เช่น
เต่าเหลือง งู จิ้งหรีด
หน้าฝนอากาศภายในหุบจะร้อนกว่าภายนอก
และมีความชื้นสูงมาก หน้าหนาว
อากาศภายในหุบจะหนาวกว่าภายนอก
ข้อมูลสรรพคุณของสมุนไพรได้จากป้ายข้อมูลที่กรมป่าไม้จัดทำไว้
ขอขอบคุณ คุณผจญ วิริยา
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ผู้นำทาง
ตัวอย่างพันธุ์ไม้ต่างๆ
ที่พบได้แก่
ตาด
ต๋าว Arenga pinnata (Wurumb) Merr. วงศ์ Arecaceae
เนื้อในเมล็ดรับประทานได้
ในการตัดทะลายตาดนั้นต้องสวมถุงมือเพราะน้ำยางที่ไหลออกมาคันมาก
จากนั้นนำผลไปต้ม
แล้วแกะเอาเมล็ด (ต้องใส่ถุงมือแกะ)
จากนั้นนำเมล็ดไปต้มอีกครั้ง
จึงแกะเอาเนื้อออกมาเชื่อมรับประทาน
เขยตาย
Glycosmic pentaphylla (Retz.) DC. วงศ์ Rutaceae
ดอก ลูก แก้หิด
เปลือกต้น ขับน้ำนม ฝีภายใน-ภายนอก
แก้พิษงู พุพอง
เข้าพรรษา
Globba sp. วงศ์ Zingiberaceae
เครือเขาน้ำ
Tetrastigma leucostaphyllum (Dennst.) Mabb. วงศ์ Vitaceae
แก้กระษัย ขับปัสสาวะ ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
ขยี้กับปูนเอาพอกทารักษาแผลสด
น้ำจากเถาสามารถนำมาดื่มได้
แซ่ม้าทะลาย
Erycibe paniculata Roxb. วงศ์ Convolvulaceae
แก้พิษร้อน ประดง โรคผิวหนัง
แก้น้ำเหลืองเสีย ปวดเมื่อยหลัง-เอว
บำรุงกำลัง แก้โรคเบาหวาน
กระเชา
Holoptelea integritolia Planch. วงศ์ Ulmaceae
กระถินไทย
Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit [Leucaena glauca Benth.]
วงศ์ Leguminosae-Mimosoideae
ราก บำรุงกำลัง
ใบ บำรุงกำลัง
ดอก บำรุงตับ
แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
กะพง
กะปุง สมพง Tetrameles nudiflora R.Br. วงศ์
Datiscaceae
ขนุนดิน
กากหมากฤาษี Balanophora fungosa J.R.
& G.Forst. ssp. indica (Arn.) B.Hansen var. indica B.Hansen
วงศ์
จันทน์ผา
Dracaena loureiri Gagnep. วงศ์ Agavaceae
ดีหมี
เปลือก แก้ปวดท้อง
เมล็ด เป็นยาระบาย
เนื้อไม้ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
ขับเหงื่อ ปวดศีรษะ ไข้จับสั่น
ตาเสือ
Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker วงศ์ Meliaceae
ใบ รักษาอาการบวม
เปลือก ขับโลหิต ขับระดู รัดมดลูก
ตีนเป็ด
Alstonia scholaris (L.) R.Br. วงศ์ Apocynaceae
เปลือก แก้โรคบิด
ท้องร่วงเรื้อรัง มาลาเรีย
ราก แก้โรคมะเร็ง
ปอกระสา
Broussonetia papyrifera (L.) Vent. วงศ์ Moraceae
เปลือก แก้บวมน้ำ ตกเลือด
ตาเป็นต้อ
ใบ แก้กระอักเลือด เลือดกำเดาไหล
มะเดื่อชุมพร
Ficus racemosa L. วงศ์ Moraceae
เปลือก แก้ท้องร่วง ไข้รากสาด
ผื่นคัน
ราก แก้ไข้กาฬ ลูก สมานแผล
มะเดื่อปล้อง
Ficus hispida L.f. วงศ์ Moraceae
เปลือก แก้เม็ดฝี แก้พิษในกระดูก
ม้ากระทืบโรง
Ficus foveolata Wall. วงศ์ Moraceae
บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย ปวดฟัน
บำรุงกำหนัด บำรุงธาตุ ประดง
แก้น้ำเหลืองเสีย
ยมหอม Toona
ciliata M.Roem. วงศ์ Meliaceae
รางจืด
Thunbergia laurifolia Lindl. วงศ์ Thunbergiaceae
ลดไข้ ถอนพิษทั้งปวง
แก้ร้อนในกระหายน้ำ
ถอนพิษเบื่อเมา
สะแกเครือ
Combretum punctatum Bl. วงศ์ Combretaceae
ใบ แก้ปวดเมื่อย มะเร็ง
บิดมูกเลือด
เมล็ด ขับพยาธิ คุดทะราด
สาบเสือ
Chromolaena odoratum (L.) R.M.King&H.Rob. [Eupatorium odoratum L.]
วงศ์ Asteraceae
ห้ามเลือด สมานภายใน ริดสีดวง