เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ป่าห้วยขาแข้งได้ถูกกำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2515 และในปี 2534 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งรวมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติของโลก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งมีพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านไร่ เส้นรอบวงประมาณ 200 กิโลเมตร สภาพเป็นป่าเต็งรัง ป่าไผ่ และป่าเบญจพรรณ ชาวบ้านที่อาศัยโดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีการใช้สมุนไพร โดยมีหมอยาพื้นบ้านชาวกระเหรี่ยงและหมอยาชาวอีสานที่อพยพมาอาศัยในบริเวณนี้
การศึกษาครั้งนี้ ได้ศึกษาพันธุ์ไม้ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เขาหินแดง
ข้อมูลสรรพคุณของสมุนไพรได้จาก
คุณสมหวัง ผู้วิเศษ เจ้าหน้าที่ป่าไม้
ตัวอย่างพันธุ์ไม้ต่างๆ
ที่พบได้แก่
เห็ด
เห็ดมันปู Craterellus
cibareus Fr. วงศ์ Cantharellaceae
มีสีเหลือง
ขึ้นกระจายเป็นบริเวณกว้าง
นำมาขยำกับพริกแกง ใส่น้ำปลาร้า
ทำห่อหมกก็ได้
เห็ดกรวยแดง
Cookeina tricholoma (
สีส้ม มีขนภายในถ้วย
ขึ้นตามขอนไม้ กินไม่ได้
เห็ดเมา
เป็นชนิดที่ไม่มีกระเปาะ
เฟิร์น
ย่านลิเภา Lygodium
sp. วงศ์ Schizaeaceae
ใช้เถาหรือต้นมันมาทำเครื่องจักรสาน
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
กระเจียว Curcuma
sp. วงศ์ Zingiberaceae
ช่อดอกกินกับน้ำพริก
นกหก Commellina
sp.
ใบสีออกแดง
วัวแดงชอบกินเวลาหน้าแล้งที่ขาดน้ำ
ช่วยให้ชุ่มคอ
หนอนตายหยาก
Stemona tuberosa Lour. วงศ์
Stemonaceae
ราก ใช้ตำใส่แผลของวัว
ป้องกันไม่ให้แผผลเป็นหนอน
เปราะ
Costus sp.
เป็นพืชในสกุลเดียวกับเอื้องหมายนา
พืชใบเลี้ยงคู่
กระเจี๊ยบผี Hibiscus
sp. วงศ์ Malvaceae
ดอกสีเหลือง ตรงกลางดอกมีสีแดง
เกล็ดปลาช่อน
หรือ เกล็ดนิ่ม
Phyllodium pulchellum (L.) Desv. [Desmodium pulchellum (L.) Desv.]
วงศ์ Leguminosae-Papilionaceae
ใช้ต้มแก้ปวด แก้ไข้
ไกรทอง
เป็นพืชในสกุลเดียวกับโคคา
แต่ไม่มีสารโคเคน
ไข่เต่า หรือ
กล้วยเต่า Polyalthia debilis (Pierre) Finet &
Gagnep. วงศ์ Annonaceae
ดอกคล้ายนมแมว ผลสุกมีรสหวาน
เป็นอาหารของเก้ง กวาง
ใช้ต้มกินแก้ตับแข็ง ตับโต
เครือหมาน้อย
หรือ กรุงเขมา Cissampelos pareira L. var. hirsuta
(Buch. ex DC.) forman วงศ์ Menispermacee
เมื่อนำใบมาขยี้กับน้ำจะได้วุ้นสีดำ
นำวุ้นมาแปะตามใบหน้ามีประโยชน์เหมือนแตงกวา
เพื่อบำรุงผิว ใบยำกับลาบ
ใช้เป็นอาหาร
ชุมเห็ดไทย
ซ้องแมว Gmelina
philippensis Cham. วงศ์ Lamiaceae
ใบขยำกับน้ำซาวข้าวครั้งแรก
แล้วนำมาหมักผม
จะทำให้ผมเป็นประกายเงางาม
ซาด Erythrophleum
succirubrum Gagnep. วงศ์ Leguminosae-Mimosoideae
มีพิษร้ายแรง ห้ามนำมาทำเขียง
หากมีเห็ดที่คนกินได้งอกบนขอนไม้
หรือต้นของพืชชนิดนี้ก็จะนำมากินไม่ได้เนื่องจากจะมีพิษตามไปด้วย
ติ้ว Cratoxylum
formosum (Jack) Dyer วงศ์ Clusiaceae
ใบอ่อนกินกับลาบ ใบรสฝาดมัน
ตอนต้นพืชชนิดนี้ยังเป็นไม้เล็กตามลำต้นจะมีหนามแหลม
เกิดจากกิ่ง
แต่เมื่อต้นโตใหญ่หนามจะหมดไป
ชอบขึ้นเป็นดง
ซึ่งจะไปบังแสงแดดพืชชนิดอื่นที่อยู่ข้างคียง
ทำให้พืชอื่นตายหมด
ปอบิด
เปล้าแพะ Croton
acutifolius Esser วงศ์ Euphorbiaceae
มียาง ใช้ทาลิ้น แก้ปากเปื่อย
ปากนกกระจอก
ใบใช้จุดให้เกิดควัน
รมเนื้อตัวเวลาถูกผึ้ง แตน ต่อ
ต่อย เพื่อบรรเทาอาการปวด
พนมสวรรค์
Clerodendrum paniculatum L.
(ในพื้นที่เรียก โลดทะนง)
มะขามป้อม
Phyllanthus emblica L. วงศ์ Euphorbiaceae
ยางพลวง Dipterocarpus
obtusifolius Teijsm. ex Miq. วงศ์ Dipterocarpaceae
รางจืด Thunbergia
laurifolia Lindl. วงศ์ Thunbergiaceae
แก้พิษ เบื่อเมา ต้มกินแก้ร้อนใน
เลี่ยนดอกม่วง
ส้มกบ อุโลก Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb.
วงศ์ Rubiaceae
หากมีเห็ดชนิดที่กินได้ขึ้นที่ขอนไม้ชนิดนี้
จะกินอร่อยขึ้นกว่าเดิม
สมอไทย Terminalia
chebula Retz. var. chebula วงศ
์Combretaceae
ผลใช้แก้ท้องเสีย มีรสเปรี้ยว
หากกัดกินแล้วดื่มน้ำตามจะหวานชุ่มคอ
สะแกเครือ
สะแกวัลย์ Combretum punctatum Bl. วงศ์
Combretaceae
ผลคล้ายสะแกนา
ชื่อจะสอดคล้องกับชื่อแม่น้ำสะแกรัง
เครือ (ต้น) ใช้ทำฟืนสำหรับอยู่ไฟ
จะให้ไฟที่นวลคือไม่โหม
ไม่แรงเกิน
หนามแท่ง
หรือ หนามเคล็ด Catunaregam spathulifolia Tirveng.
วงศ์ Rubiaceae
หนามแข็งมากเหมือนตะปู
หนามหัน Acacia
magaladena Desv. var. megaladena วงศ์ Leguminosae-Mimosoideae
ที่เส้นใบด้านหลังใบมีหนาม stipule
ขนาดเล็ก ที่หลุดออกได้ง่าย
ดอกจะเป็นแบบกระถิน
แก่นมา 1 กำมือ ต้มกินแก้ปวดหลัง
เมื่อยเอว
หยาดน้ำค้าง
หูปากกา Thunbergia
fragrans Roxb. วงศ์ Thunbergiaceae
เอ็นอ้า หรือ
โคลงเคลง Melastoma sp. วงศ์ Melastomataceae
หากพบพืชชนิดนี้ขุดลงไปจะพบน้ำ
จึงใช้เป็นตัวชี้วัดในการขุดบ่อน้ำของชาวอีสาน