Siddha system of medicine

Siddha = an object to be attained, perfection or heavenly bloss

เป็นศาสตร์ที่กำเนิดทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย   มีมาตั้งแต่ 2000 BC   บางครั้งเรียกว่า Agasthyar   เนื่องจากนักปราญญ์ชื่อ Agasthya เป็นผู้ให้การสนับสนุนจนเป็นที่รู้จัก

หลักการของ Siddha ไม่เน้นการรักษาโรค   แต่เน้นการเข้าถึงผู้ป่วย (อายุ เพศ อุปนิสัย ชนชาติ) สิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ ถิ่นที่อยู่ กรอบความกิด อาหาร เป็นต้น

ร่างกายประกอบด้วย 96 Tatwas   72000 blood vessel  และ 1300 nerves  10 Nadi (main arteries)   10 Vayu (vital pranas)  และ 14 Vegangal (natural functions)

มี 3 humours เรียกว่า Mukkuthram คือ Vatham, Pittam และ Kapam ซึ่งอยู่ในลัดษณะที่สมดุล   การไม่สมดุลจะก่อให้เกิดโรค

การตรวจโรคจะมีพื้นฐานจาก Mukkuthram และ Ennvagel  ซึ่งมี 8 แบบ คือ Nadi (pulse), Na (tongue), Nirma (colour), Moozhi (voice), Kan (eyes), Sparsham (touch), Malam (faeces) และ Muthiram (urine)

การรักษามุ่งไปที่การทำให้เกิดสมดุลของ Mukkuthram   โดยเริ่มต้นจากการใช้กระบวนการทำให้บริสุทธิ์แบบใดแบบหนึ่ง หรือหลายแบบรวมกัน  คือ
1. Vanthi (vomitting)
2. Bedhi (purgation)
3. Peccu (enema)
4. Nasyam (nasal insuflation)
หลังจากนั้น จึงใช้ยารักษาตามความเหมาะสม

กรณีเป็นความเจ็บป่วยของระบบประสาทกล้ามเนื้อ (Vatharogagal) จะใช้วิธีที่เรียกว่า Tokkanam   ซึ่งได้แก่การนวดน้ำมัน 12 ชนิด 5 วิธี

นอกจากนี้ ตำราชื่อ Varma Kannadi และ Varma Suthiram กล่าวถึงจุดสำคัญ 108 จุด เรียกว่า Narmanilaigal   อยู่ตามรอยต่อของหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ เส้นประสาท ข้อ เป็นต้น   มีการรักษาโรคโดยการกดที่ตำแหน่งหล่านี้ด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ

บรรณานุกรม
Central council for Research in Ayurveda and Siddha,   Department of Indian System of Medicien and Homoeopathy, Ministry of Health and Family Welfare, India.

back.jpg (806 bytes)