ดีปลี


ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofracnon Vahl
ชื่อวงศ์ PIPERACEAE
ชื่อสามัญ Long peper.
ชื่ออื่นๆ
ทั่วไป ดีปลี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถา ประเภทเลื้อย มีรากงอกออกตามข้อและเกาะพันไปกับสิ่งอื่นได้ ลำต้นรูปทรงกระบอกค่อนข้างกลม เปราะ หักง่าย คดไปมา ขนเกลี้ยง เมื่อแห้งเป็นลายละเอียด

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อใบลักษณะใบรีรูปแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มค่อนข้างมัน เมื่อแห้งมีสีจางลง เส้นใบออกจากโคนใบมี 3 - 5 เส้น

ดอก ออกดอกเป็นช่อตั้งอยู่ตรงข้ามกับใบ ชนิดดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกเรียงอัดแน่นบนแกนช่อเป็นรูปทรงกระบอก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่คนละต้นกัน เกสรตัวผู้มี 2 อัน อับเรณูรูปขอบขนาน รังไข่ฝังในแกนกลางช่อ ยอดเกสรตัวเมียมี 3 พู

ผล อัดกันแน่นเป็นช่อ ผลกลมยาวเป็นปุ่มเล็กๆ เมื่ออ่อนมีสีเขียว เป็นเกล็ดเล็กๆ พอสุกหรือแก่จัดก็กลายเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้ม โคนกว้างปลายมน มีลักษณะคล้ายกับลูกช้าพลู
ประโยชน์ทางยา
เถา รสเผ็ดร้อน แก้พิษงู แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ลม เจริญอาหาร แก้มุตฆาต (เมื่อปัสสาวะออกมาจะปวด ขัด เจ็บ เป็นหนองข้นขุ่น)
ผล รสเผ็ดร้อน แก้อาการท้องขี้น แก้หืดไอ ขับเสมหะ ขับลม บำรุงธาตุไฟ แก้ท้องเสีย แก้หลอดลมอักเสบ แก้นอนไม่หลับ แก้ลมบ้าหมู ขับน้ำดี ขับประจำเดือน ขับพยาธิ ขับรกหลังคลอด ทาแก้อาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ ยาขับระดู ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
ดอก รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด แน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้เวียนศีรษะ แก้ปถวีธาตุพิการ แก้หอบหืด แก้ริดสีดวงทวาร แก้คุดทะราด ช่วยเจริญอาหาร แก้ตับพิการ แก้ไอ แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว
ราก รสเผ็ดร้อน แก้พิษอัมพฤกษ์อัมพาต พิษปัตคาด แก้ตัวร้อน แก้คุดทะราด (โรคติดต่อชนิดเรื้อรังซึ่งวันแรกเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ คล้ายหัวหูดแล้วค่อยๆ โตขึ้น มีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำปลี) แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หอบหืด แก้เวียนศีรษะ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช แมลงศัตรูข้าวในยุ้งข้าว ด้วง มอดข้าว หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก
ใบ รสเผ็ดร้อน แก้เส้นสุมนา (โรคเส้นที่อยู่ตรงสะดือแล้วแล่นไปในอกไต่ไปลำคอออกมาที่ล้าน) แก้เส้นอัษฏากาศ (เส้นขึ้นเบื้องสูง) แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น แก้อ่อนเพลีย ช่วยย่อยอาหาร
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 23, 91.