กระทือ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber zerumbet (Linn.) Smith
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ Wild Ginger
ชื่ออื่นๆ
กะทือป่า, กะแอบ
แม่ฮ่องสอน เฮียวแดง, เฮียวดำ
ภาคเหนือ กระทือป่า, กระแวน, กะแอน, แฮวดำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงประมาณ 0.9-1.5 เมตร ลำต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้น ใหม่ในหน้าฝน มีเหง้าใต้ดินสีน้ำตาล

ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก กว้าง 3 - 10 ซม. ยาว 14 - 40 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ

ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด รูปรี แทงจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้ 1 อัน อับเรณูขนาดใหญ่ โค้ง มีรยางค์ที่ปลาย เกสรเพศผู้เป็นหมันด้านข้าง 2 อัน สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้เป็นหมันอันกลาง สีเหลืองอ่อน ตรงโคนมีแต้มสีเหลืองเข้ม

ผลรูปไข่กลับ เมล็ดรูปขอบขนานค่อนข้างกลม สีแดง มีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นริ้ว
ประโยชน์ทางยา
เหง้า บำรุงน้ำนมให้บริบูรณ์ แก้ปวดม้วนในท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ แก้แน่นหน้าอก แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ร้อนใน ผสมเหง้าไพล เผาไฟคั้นเอาน้ำดื่ม แก้บิด แก้ปวดเบ่ง แน่นท้อง ปวดมวน ขับเสมหะ เบื่ออาหาร
ใบ ขับเลือดเน่าในมดลูก ขับน้ำคาวปลา ขับลม
ราก แก้ไข้ตัวเย็น
ต้น เจริญอาหาร
ดอก แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น แก้ผอมเหลือง
เกสร แก้ลม บำรุงธาตุ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช. กระทือ. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562, จาก http://hort.ezathai.org/?p=131
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 172.