ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Senna alata (L.) Roxb. |
ชื่อพ้อง |
Cassia alata L. |
ชื่อวงศ์ |
FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE) |
ชื่อสามัญ |
Ringworm Bush, Candelabra Bush, Seven Golden Candle-stick, Acapulo, Candle bush |
ชื่ออื่นๆ |
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน |
ชุมเห็ดใหญ่, ตะลี่พอ |
ภาคเหนือ |
ขี้คาก, ลับมืนหลวง, หมากกะลิงเทศ |
ภาคกลาง, ภาคใต้ |
ชุมเห็ดเทศ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม ขนาดกลาง สูงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งก้านน้อน เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ก้านใบยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง ลักษณะคล้ายกับใบมะยมแต่ละโตและยาวกว่าประมาณ 10 - 12 ซม. และกว้างประมาณ 3 - 6 ซม.
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีความยาวประมาณ 30 - 60 ซม. ลักษณะใบรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ฐานใบมน และไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ขอบใบเรียบ สีแดง ใบจะมีความกว้างประมาณ 5 - 7 ซม. และยาวประมาณ 5 - 15 ซม. ก้านใบแข็ง ตั้งฉากกับกิ่ง ใบย่อยเรียงตัวเป็นคู่ๆ 8 – 20 คู่ และอยู่ในระนาบเดียวกัน ก้านใบย่อยสั้นมาก
ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ชูตั้งขึ้นไปตามซอกใบและปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 20 - 50 ซม. ในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกหลายดอก มีใบประดับสีน้ำตาลแกมเหลืองหุ้มดอกตูม ดอกมีสีเหลือง ดอกตูมคล้ายดอกข่า และเมื่อดอกบานจะมีสีเหลืองเข้ม กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปขอบขนานสีเขียว ตรงปลายจะแหลม ก้านดอกสั้นและมีลายเส้นเห็นชัดเจน เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 9 - 10 อัน แต่มีความยาวไม่เท่ากันอับเรณูเมื่อแก่จะมีรูเปิดที่ยอด ส่วนเกสรตัวเมียนั้นมีอยู่1อันผิวเกลี้ยง
ผล จะติดผลเมื่อดอกโรยแล้ว ลักษณะเป็นฝักแบน หนา ไม่มีขน มีความกว้างประมาณ 1.5 - 2 ซม. และยาวประมาณ 10 - 15 ซม. จะมีปีกอยู่ 4 ปีก มีความกว้างประมาณ 5 - 8 มม. และยาวประมาณ 7 - 10 มม. มีครีบคล้ายถั่วพู ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ และเมล็ดมีสีดำแบนลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมประมาณ 50 – 60 เมล็ด ผิวนอกขรุขระ |
ประโยชน์ทางยา |
ต้น |
รสเบื่อเอียน ใช้ขับพยาธิในลำไส้ ถ่ายพิษตานทรง รักษาซาง โรคผิวหนัง ถ่ายเสมหะ รักษาฟกบวม รักษาริดสีดวง ดีซ่าน และฝี ใช้เป็นยารักษาคุดทะราด และกลากเกลื้อน รักษากษัยเส้น ขับพยาธิ และขับปัสสาวะ รักษาท้องผูก และทำให้หัวใจเป็นปกติ
|
ใบ |
รสเบื่อเอียน จะมีกลิ่นฉุน ต้มน้ำกินเป็นยาระบาย อมบ้วนปากและใช้เป็นยาฆ่าพยาธิตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคันเส้นประสาทอักเสบ รักษากษัยเส้น ขับปัสสาวะและรักษากระเพาะอาหารอักเสบ บดผสมกระเทียมหรือน้ำปูนใสทาแก้กลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง ฝีและแผลพุพอง |
ดอก |
รสเอียน ใช้เป็นยาระบาย ยาถ่าย บรรเทาอาการท้องผูก ถ่ายพยาธิลำไส้ |
ฝักและเมล็ด |
รสเอียนเบื่อ แก้พยาธิ เป็นยาระบาย ขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน |
ต้น ราก ใบ |
รสเบื่อเอียน แก้กระษัยเส้น ทำให้หัวใจปกติ แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
อ่าน |
เอกสารอ้างอิง |
ชุมเห็ดเทศ. (2557). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A %E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
|
ชุมเห็ดเทศ. (2554). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttp://www.samunpri.com/%E0%B8%8A%
E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9
%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/
|
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชุมเห็ดเทศ. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2562, จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/cassiaal.html |
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 118, 230, 258. |
|
|
|