ช้าพลู


ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosumRoxb.
ชื่อวงศ์ PIPERACEAE
ชื่อสามัญ WildbetalLeafbush
ชื่ออื่นๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ต้นเล็ก ๆ มีลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ลักษณะลำต้นจะเป็นข้อ ๆ ใบมีลักษณะคล้ายใบพลูขนาดย่อม ใบจะเป็นสีเขียวแก่และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ใบใช้กินเป็นผักได้ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ (alternate) รูปร่างใบเป็นรูปหัวใจ (cordate) เส้นใบชัดเจน 5-7 เส้น ปลายใบแหลม ผิวใบไม่เรียบขนาด 3-4.5 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบใหญ่มีขนาดกว้าง 15 ซม. ยาว 17 ซม. ก้านใบยาว 1-5 ซม. ต้นและใบมีรสเผ็ดและกลิ่นฉุนเล็กน้อย ดอก ลักษณะดอกจะออกยาวเป็นปุ่ม ๆ คล้ายกับดอกดีปลี แต่จะสั้นกว่าดอกเป็นดอกช่อไม่มีก้านดอกย่อยอัดแน่น ช่อดอกสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเขียว ไม่มีกลีบ ผล เป็นผลรวม (multiple fruit) แบบเบอร์รี่ (berry) รูปทรงกระบอก เมล็ดขนาดเล็ก
ประโยชน์ทางยา
ผล เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด
ราก ต้น ดอก ใบ ขับเสมหะ
ราก แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด
ต้น แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อรักษาโรคเบาหวาน
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

ช้าพลู, ต้น

ช้าพลู, หน้าใบ
 
ช้าพลู, หน้าใบ
 

ช้าพลู, ดอก

ช้าพลู, ผล
 
ช้าพลู, herbarium ตัวอย่างที่ 1
 

ช้าพลู, herbarium ตัวอย่างที่ 2

ช้าพลู, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. (มปป.). Piper sarmentosumRoxb.สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=915&name=Pepper%20 %20%5B3%5D
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (มปป.) กลุ่มยารักษาเบาหวานชะพลู (ช้าพลู). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttp://www.rspg. or.th/plants_data/herbs/herbs_27_1.htm