คูน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula L.
ชื่อวงศ์
ชื่อสามัญ Golden shower, Indian laburnum, Puddingpine tree
ชื่ออื่นๆ
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ปูโย, เปอโซ, ปือยู, แมะหล่าหยู่
ภาคเหนือ ลมแล้ง
ภาคกลาง, ภาคเหนือ คูน
กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี กุเพยะ
ภาคกลาง ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงประมาณ 5 - 15 เมตร เปลือกต้นเรียบ เกลี้ยง สีเทาอ่อน หรือสีเทาอมน้ำตาล สีเทาอมขาว หรือสีนวล

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ลักษณะใบย่อยรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบมน แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน มีใบย่อยประมาณ 4 - 12 คู่

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ลักษณะช่อห้อยระย้าออกตามกิ่งหรือออกตามซอกใบ ออกดอกแบบสมมาตรด้านข้าง มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายมน สีเหลืองสด โดยกลีบดอกบนสุดจะเรียงอยู่รอบในสุด ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ผล เป็นฝักกลมทรงกระบอกยาว 30 - 60 เซนติเมตร ผิวเรียบ และมีเปลือกแข็ง ภายในมีผนังแบนสีน้ำตาล กั้นเป็นห้องและมีเมล็ดห้องละ 1 เมล็ด ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ

เมล็ด มีเนื้อหุ้มนิ่มๆ สีน้ำตาลไหม้ หรือสีดำ ลักษณะกลมมนและแบน มีรสหวาน
ประโยชน์ทางยา
ใบอ่อน รสเมา โขลกพอกหรือคั้นเอาน้ำทารักษาโรคกลาก เกลื้อน แก้ไข้รูมาติก
ใบแก่ รสเมา ใบสดหรือตากแห้ง ใช้เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิผิวหนัง รักษาอัมพาตของกล้ามเนื้อบนใบหน้า พอกแก้ปวดข้อ หรือต้มน้ำดื่มแก้โรคเกี่ยวกับสมอง แก้เส้นเอ็นพิการ
เปลือกต้น รสฝาดเมา เป็นยาช่วยเร่งการคลอด รักษาอาการท้องร่วง
กระพี้ รสเมา แก้รำมะนาด
แก่น รสเมา ขับพยาธิไส้เดือน รักษาอาการท้องร่วง และช่วยเร่งคลอด
ดอก รสเปรี้ยวขม รักษาโรคกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย ต้มดื่มแก้ไข้ แก้แผลเรื้อรัง ช่วยหล่อลื่นในลำไส้ ระบายท้อง
เนื้อในฝัก รสหวานเอียน ถ่ายเสมหะ และแก้พรรดึก เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก ฟอกหรือชำระน้ำดี แก้ลมเข้าข้อ และขัดข้อ
เปลือกฝัก รสเฝื่อนเมา ทำให้แท้งลูก ขับรกที่ค้าง และทำให้อาเจียน
เมล็ด เมล็ด ช่วยกระตุ้นให้อาเจียน เป็นยาถ่าย
เปลือกราก รสฝาด ต้มดื่มแก้ไข้มาลาเรีย และระบายพิษไข้ใช้ร่วมกับเนื้อในฝักเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย และเป็นยาระบาย
ราก รสเมา เป็นยาบำรุง รักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี เป็นยาถ่ายอย่างแรง รักษาอาการไข้ ระบายพิษไข้ ถ่ายสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย ฆ่าเชื้อคุดทะราด แก้กลากเกลื้อน แก้อาการเซื่องซึมหนังศีรษะ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 114.