ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby. |
ชื่อพ้อง |
Cassia siamea Lam. |
ชื่อวงศ์ |
FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE) |
ชื่อสามัญ |
Cassod tree, Thai copper pod. |
ชื่ออื่นๆ |
ภาคเหนือ |
ขี้เหล็กหลวง |
ภาคกลาง |
ขี้เหล็กใหญ่ |
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน |
ผักจี้ลี้ |
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน |
แมะขี้เหละพะโดะ |
มลายู-ปัตตานี |
ยะหา |
ลำปาง, สุราษฏร์ธานี |
ขี้เหล็กบ้าน |
ทั่วไป |
ขี้เหล็ก |
ราชบุรี |
ขี้เหล็กแก่น |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 10 – 15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มแคบๆ ทึบสีเขียวเข้ม ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาล หรือสีเทาปนน้ำตาล เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ มีรอยแตกตามยาวของลำต้นเป็นร่องตื้นๆ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะใบรูปขอบขนาน ด้านบนเกลี้ยง ขอบใบเรียบ ปลายใบมน โคนใบมน แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมเขียว มีใบย่อยประมาณ 7 – 16 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ก้านใบสีน้ำตาลแดง
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออกช่อที่ปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ มีดอกย่อยประมาณ 10 – 20 ดอก กลีบเลี้ยงกลม 3 – 4 กลีบ ปลายมน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว เกสรตัวผู้10 อัน หลุดร่วงง่าย ดอกมีสีเหลือง มีเกสรยาวยื่นออกมาภายนอก
ผล ลักษณะฝักแบนอวบ ยาวและหนาสีน้ำตาล ฝักแห้งจะแตกออกเป็น 2 ซีก คล้ายกับฝักแค
เมล็ด รูปไข่ยาวแบนเรียงตามขวาง มีเมล็ดประมาณ 10 – 30 เมล็ดต่อฝัก สีน้ำตาลแก่ |
ประโยชน์ทางยา |
ดอก |
รสขม เป็นยาระบาย ต้มรับประทานเป็นยาทำให้นอนหลับ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเส้นประสาท รักษาหืด ล้างศีรษะรักษารังแค โรคโลหิตพิการ ผายธาตุ ขับพยาธิ ดอกตูมเป็นยาทำให้นอนหลับสบายหรือใช้ดอกตูมร่วมกับใบไม่แก่จัดรักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการตื่นเต้นทางประสาท |
ราก |
รสขม แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ แก้ไข้ รักษาแผลกามโรค โรคเหน็บขา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง ผสมในยาขับพยาธิและช่วยระงับอาการชักได้ |
ลำต้นและกิ่ง |
เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว |
ทั้งต้น |
แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน |
เปลือกต้น |
รสขม รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย ใช้เป็นยาระบาย |
แก่น |
รสขม แก้กามโรค หนองในเข้าข้อออกดอก แผลฝี ขับน้ำคาวปลา ถ่ายพิษ แก้กระษัย ถ่ายเส้น ขับโลหิต แก้เหน็บชา แก้อาการท้องผูก รักษาโรคเบาหวาน โรคหนองใน ใช้เป็นยาระบายชนิดกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว แก้ไฟธาตุพิการ รักษาวัณโรคมะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร |
ใบ |
รสขม ขับระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องผูก รักษาโรคบิด โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาอาการนอนไม่หลับ |
ผลหรือฝัก |
รสขม เป็นยาระบาย แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้พิษเพื่อเอ็นตึง แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง |
เปลือกผลหรือเปลือกฝัก |
รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นพิการ แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัย |
กระพี้ |
รสขมเฝื่อน แก้กระษัยเส้นเอ็น ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน กระสับกระส่าย |
ทั้งห้า |
คือ ใบ ดอก ผล เมล็ด ราก รสขม ถ่ายพิษกระษัย พิษเสมหะ พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง ถ่ายเส้น |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
อ่าน |
เอกสารอ้างอิง |
Rspg.or.th. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. กรุงเทพฯ: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี; [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2560] เข้าถึงได้จาก: http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_14_1.htm |
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 110, 298. |
|
|
|