ขมิ้นอ้อย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma zedoaria Zberg. Roscoe.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ Zedoary, Luya-Luyahan
ชื่ออื่นๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชัน แต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้น ๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้น หรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิงด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลืองอ่อนบ้างว่าเป็นสีเหลืองเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้านำมาปลูก และควรจะปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคม ย่างเข้าฤดูฝน ไม่ควรให้น้ำจนท่วมขังเพราะจะทำให้เหง้าขมิ้นอ้อยเน่าเสียได้ โดยขมิ้นอ้อยจะงอกงามในช่วงฤดูฝน และจะมีต้นโทรมหัวใหญ่ในช่วงฤดูหนาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแคบ ผิวใบนูนตามลายของเส้นใบ เส้นกลางใบเป็นร่องเล็กน้อย ผิวบ้านด้านหน้าเรียบ ส่วนทางด้านท้องใบจะมีขนนิ่มเล็กน้อย ก้านใบเป็นกาบหุ้มกับลำต้นมีความยาวเป็น 1 ใน 3 ของใบ กลางก้านเป็นร่องลึกตลอดความยาว ในหน้าแล้งกาบใบจะแห้งลงหัวแล้วเหง้าจะโผล่ขึ้นมา (จนบางครั้งเราก็เรียกกันว่าขมิ้นหัวขึ้น) ดอกเป็นช่อ ก้านดอกจะยาวและพุ่งออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปทรงแท่งกระบอก ช่อดอกมีใบประดับ และดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีลักษณะกลมเป็นรูปไข่ สีเขียว ตรงปลายของช่อดอกจะเป็นสีชมพูหรือสีแดงอ่อน ส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นบน และจะบานครั้งละประมาณ 2-3 ดอก ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีกลิ่นฉุนน้อยกว่าผลของขมิ้นชัน
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ช้ำบวม
เหง้า รสเฝื่อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้ฟกบวม แก้อักเสบ แก้พิษโลหิต แก้ลม รักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไธรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื้องอกธรรมดาของกล้ามเนื้อมดลูก รักษาอาการเลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก รักษาระดูมาไม่ปกติ เหง้าสดตำผสมกับการบูรเล็กน้อย ดอกน้ำฝนกลางหาว รินเอาน้ำหยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว ตาพิการ หรือหัวใช้สมานแผล ใช้ผสมปรุงยาท้องอืดเฟ้อ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

ขมิ้นอ้อย, เหง้า

ขมิ้นอ้อย, ต้น
 
ขมิ้นอ้อย, เหง้าเหนือดิน
 

ขมิ้นอ้อย, หน้าใบ

ขมิ้นอ้อย, หลังใบ
 
ขมิ้นอ้อย, herbarium ตัวอย่างที่ 1
 

ขมิ้นอ้อย, herbarium ตัวอย่างที่ 2

ขมิ้นอ้อย, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
ขมิ้นอ้อย. (2557). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก https://medthai.com/%E0%B8%82%E0% B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0 %B8%AD%E0%B8%A2/
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. (มปป.)สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttp://natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/data/ka-min-aoy.htm