ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Curcuma longa L. |
ชื่อพ้อง |
Curcuma domestica Valeton |
ชื่อวงศ์ |
ZINGIBERACEAE |
ชื่อสามัญ |
Turmeric |
ชื่ออื่นๆ |
ทั่วไป |
ขมิ้น |
เชียงใหม่ |
ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว |
กะเหรี่ยง - กำแพงเพชร |
ตายอ |
กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน |
สะยอ |
ภาคกลาง, พิษณุโลก |
ขมิ้นชัน |
ภาคใต้ |
ขี้มิ้น, หมิ้น |
|
ขมิ้นขาว |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า ประกอบด้วยแง่งที่มีลักษณะต่างๆ กันคือ แง่งแม่หรือแง่งหลักจะมีลักษณะกลม ซึ่งจะเป็นที่แตกของแขนงที่สองและสามต่อไป แขนงที่แตกออกมานี้ถ้ามีลักษณะกลมจะเรียกว่า หัว และถ้ามีลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือจะเรียกว่า นิ้ว ซึ่งเป็นที่เกิดของรากฝอย เนื้อในหัวมีสีเหลืองอมส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด และมีกลิ่นหอม ส่วนลำต้นเหนือดินคือกาบก้านใบที่เรียงซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม
ใบ เป็นใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ลักษณะใบรูปใบหอกยาวเรียว ปลายใบแหลม กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. มีเส้นกลางใบเห็นได้ชัดเจนทางด้านล่างของใบ ใบเรียงแบบสลับ และอยู่กันเป็นกลุ่ม
ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกจะเกิดบนลำต้นที่มีใบหรือโผล่ขึ้นมาจากใจกลางของกลุ่มใบ ช่อดอกมีรูปร่างแบบทรงกระบอกหรือรูปกรวย ใบประดับมีสีเขียวอ่อนๆ หรือสีขาว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ตรงปลายช่อดอกจะมีสีชมพูอ่อน จัดเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกมีขาว ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว บานครั้งละ 3-4 ดอก
ผล รูปกลมมี 3 พู |
ประโยชน์ทางยา |
เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน |
รสฝาดหวานเอียน กลิ่นหอม มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระขมิ้นชันไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง ขมิ้นชัน เพิ่มภูมิคุ้มกัน อิมมูโนโกลบูลิน ชนิดจี (IgG) และลดความไวต่อตัวกระตุ้น ช่วยขยายหลอดลม ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และเป็นสมุนไพรรักษาโรคภูมิแพ้ แก้ไข้เรื้อรัง แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะและโลหิต แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ธาตุพิการ ขับผายลม แก้ผื่นคัน แก้โรคเหงือกบวม แก้บิด, น้ำคั้นจากเหง้าสดทาแก้แผลถลอก แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ลดการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร |
น้ำมันหอมระเหย |
มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง ในตำรายาจีนใช้เป็นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน |
ผงขมิ้น |
เคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด ผสมน้ำทาผิว แก้เม็ดผดผื่นคัน |
ขมิ้นสด |
โขลกกับดินประสิวเล็กน้อย ผสมน้ำปูนใสพอกบาดแผลและแก้เคล็ด ขัด ยอก เผาไฟแล้วโขลกรวมกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด |
ใบ |
รสฝาดเอียน ใช้ผสมกับยานวดเพื่อคลายเส้น ใช้เป็นส่วนผสมทำยาอายุวัฒนะ แก้ปวดมวน ริดสีดวงทวาร รักษาอาการท้องเดิน ปวดท้อง |
เหง้าแห้ง |
บดเป็นผงให้ละเอียดเคี่ยวในน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด ผสมน้ำใช้ทาผิวกายแก้เม็ดผดผื่นคัน |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
อ่าน |
เอกสารอ้างอิง |
ขมิ้น. (2559). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%
B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (มปป.)ขมิ้นชัน. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=34
|
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 53, 81, 273. |
|
|
|