ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gymnopetalum chinensis (Lour.) Merr. |
ชื่อพ้อง |
Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz |
ชื่อวงศ์ |
ACORACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ขี้กาเหลี่ยม |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, นครราชสีมา |
ขี้กาลาย |
น่าน |
ผักแคบป่า |
ภาคเหนือ |
มะนอยจา |
แม่ฮ่องสอน |
มะนอยหก, มะนอยหกฟ้า |
เชียงใหม่ |
ผักขาว |
ภาคใต้, นครศรีธรรมราช |
ดอม |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ต้น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยลำต้นและมีมือเกาะ มีขน และลำต้นมักเป็นห้าเหลี่ยม มักขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดินฟ้าอากาศ ชอบดินร่วนและระบายน้ำได้ดี
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่รูปไต จนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือรูปแฉก ใบเว้าเป็นฟันเลื่อย กว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร หน้าใบมีขนสากเล็กน้อย โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ
ดอก เป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน มีใบประดับยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ขอบใบเป็นจักแบบลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนปลายแยกเป็นแฉกรูปหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรตัวผู้มี 3 อัน ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นเดี่ยว ๆ และกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ มีรังไข่ช่อเดียว ยอดเกสรตัวเมียแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกมีขนปกคลุมเล็กน้อย จะบานเมื่อสายและจะเริ่มเฉาเมื่อเจอแสงแดด
ผล มีลักษณะของผลคล้ายรูปกระสวยหรือรูปรี แหลมทั้งหัวและท้าย มีความยาวของผลประมาณ 6 เซนติเมตร และมีเส้นรอบวงราว 5-7 เซนติเมตร ผิวสาก มีสันเป็นเหลี่ยมหลายเหลี่ยมรอบผล 10 สันและมีขนเล็กๆปกคลุมอยู่ เนื้อในผลมีสีน้ำตาล ในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปรีจำนวนมาก ลักษณะเป็นริ้ว ๆ มีสีน้ำตาลไหม้ และมีกลิ่นฉุน ผลเล็กจะมีสีเขียวและเมื่อแก่จะมีสีเหลืองและค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีส้มเมื่อแก่จัด จนกระทั้งเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อสุก ผลอ่อนแห้งมีสีน้ำตาล |
ประโยชน์ทางยา |
เมล็ด |
รับประมานเป็นยาลดไข้ แก้พิษสำแลง เป็นยาถอนพิษจากการกินผลไม้ที่เป็นพิษบางชนิด ถอนพิษจากพืชพิษ ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี บำรุงธาตุ รักษาโรคในการแท้งลูก |
ผล |
บำรุงน้ำดี |
ผลอ่อน |
รสขมเย็น บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่งเพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย ช่วยเจริญอาหาร แก้สะอึก ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้ รักษามดลูกหลังการแท้ง หรือการคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต |
ทั้งห้าส่วน (ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล) |
บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ รักษามดลูกหลังจากการคลอดบุตร เจริญอาหาร บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ดับพิษร้อน |
ใบ |
รสขม ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตาอักเสบ รับประทายแก้พิษของลูกสุก แก้พิษบาดทะยัก |
ราก |
รสขม ต้มรับประทานแก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิต เจริญอาหาร บดผสมน้ำร้อน ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอ่อนล้า |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กระดอม. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=5 |
สมุนไพรดอทคอม. กระดอม. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.samunpri.com/gallery/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A1/ |
สาระเร็ว.com. กระดอม สมุนไพรมีพิษ จริงหรือ?. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.xn--03camj5ak4hpc.com/2015/11/16/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9-%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87/ |
เมดไทย. กระดอม สรรพคุณและประโยชน์ของกระดอม 26 ข้อ ! (ลูกกระดอม). สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A1/ |
|
|
|