ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Careya sphaeice Roxb. |
ชื่อพ้อง |
Careya arbasea Roxb. |
ชื่อวงศ์ |
LECYTHIDACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
จันทบุรี |
หูกวาง |
ภาคเหนือ |
ปุยขาว, ผักฮาด |
ภาคเหนือ, ภาคใต้ |
ปุย |
ภาคใต้ |
ปุยกระโดน |
กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี |
ขุย |
ละว้า-เชียงใหม่ |
พุย |
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน |
แซงจิแหน่, เส่เจ๊อะบะ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูง 8 - 20 ม. แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นสะเก็ดเป็นชิ้นบางๆ
ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 8 - 14 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบแหลม ขอบใบจักตื้นๆ แผ่นใบค่อนข้างนิ่มเรียบ สีเขียว
ดอกออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยก 4 แฉก สีเขียว หนา กลีบดอก 4 กลีบ บาง หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก
ผลรูปกลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 8 ซม. ผิวเรียบ เปลือกหนา ผลมีเนื้อสีเขียว สุกเป็นสีน้ำตาล เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด |
ประโยชน์ทางยา |
ดอก |
เป็นยาบำรุงกำลังหลังจากการคลอดบุตร แก้หวัด แก้ไอ ชุ่มคอ |
ใบ |
มีรสฝาด ใช้ใส่แผล |
ผล |
มีรสจืดเย็น เป็นยาช่วยย่อยอาหาร |
เปลือกต้น |
ใช้สมานแผล แก้เคล็ดเมื่อย แก้อักเสบจากงูกัด |
เมล็ด |
มีรสฝาด แก้พิษต่างๆ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 37. |
|
|
|