ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don |
ชื่อพ้อง |
Arum macrorhizon L. |
ชื่อวงศ์ |
ARACEAE |
ชื่อสามัญ |
Elephant ear, Giant taro |
ชื่ออื่นๆ |
กรุงเทพมหานคร |
กระดาด, กระดาดขาว |
กาญจนบุรี |
กระดาดดำ |
เชียงใหม่ |
บึมบื้อ |
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน |
คือ, โทป๊ะ |
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน |
เผือกกะลา, มันโทป้าด |
ยะลา |
บอนกาวี, เอาะลาย |
มลายู-ยะลา |
กลาดีบูเก๊าะ |
สงขลา |
โหรา |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก สูงได้มากกว่า 1 ม. ลำต้นสั้น มีหัวอยู่ใต้ดิน
ใบเดี่ยว ออกจากหัวใต้ดิน ใบรูปไข่ กว้าง 25 - 60 ซม. ยาว 30 - 90 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบเว้าลึก ขอบใบเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบยาว 1.2 - 1.5 ม.
ดอกออกเป็นช่อเป็นแท่งยาวตรงกลางต้น มีกาบหุ้มดอกยาวกว่าช่อดอก ดอกสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกแยกเพศอยู่ช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่ตอนบน ดอกเพศเมียมีน้อยกว่าอยู่ตอนล่าง ระหว่างดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะคอด
ผลมีเนื้อ รูปทรงกลมขนาดเล็ก สีแดง มีเมล็ด 1 เมล็ด |
ประโยชน์ทางยา |
เนื้อในฝัก |
มีรสหวาน ระบายท้อง ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก ฟกช้ำ ชำระน้ำดี แก้ลมเข้าข้อ ขัดข้อ |
ดอก |
มีรสขม เปรี้ยว แก้ไข้ เป็นยาระบาย |
เปลือกและใบ |
มีรสฝาดเมา บดผสมทาฝีและเม็ดผื่นตามร่างกาย |
ใบ |
มีรสเมา ระบายท้อง แก้พยาธิ |
ราก |
มีรสเมา ฝนทารักษาขี้กลาก ระบายท้อง แก้คุดทะราด |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 36. |
|
|
|