ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sinclair |
ชื่อพ้อง |
Canangium frutiosum Craib |
ชื่อวงศ์ |
ANNONACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
กรุงเทพมหานคร |
กระดังงาสาขา |
ภาคใต้ |
กระดังงาเบา |
ยะลา-มลายู |
กระดังงางอ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม สูง 1 - 2.5 ม. เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 10 - 14 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียว ก้านใบยาว 1 - 2.5 ซม.
ดอกออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกตามกิ่งตรงข้ามกับใบ ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงสีเขียวปลายกลีบกระดกขึ้นหรืององุ้มลง กลีบดอกมี 15 - 24 กลีบ ยาว 5 - 9 ซม. เรียงหลายชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ปลายแหลม
ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงกลมรีมี 8 - 10 ผล ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอสุกเป็นสีม่วงดำ |
ประโยชน์ทางยา |
ดอก |
มีรสสุขุมหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต |
เนื้อไม้ |
มีรสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ |
ราก |
คุมกำเนิด |
ต้น, กิ่งก้าน |
เป็บยาขับปัสสาวะ |
เปลือก |
รักษามะเร็งเพลิง |
ใบ |
รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้คัน ปัสสาวะพิการ |
เกสร |
แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้จับ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 35. |
|
|
|