ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson |
ชื่อพ้อง |
Limonia crenulata Roxb., Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem. |
ชื่อวงศ์ |
RUTACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
ภาคกลาง |
พญายา |
ภาคกลาง, ราชบุรี |
ตุมตัง |
ภาคเหนือ |
กระแจะจัน, ขะแจะ |
มอญ |
คะนาว |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้นผลัดใบ สูง 2 - 10 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนออกเขียว แตกเป็นร่องตามยาวหรือเป็นสะเก็ดขนาดเล็ก ตามกิ่งมีหนามแหลมยาว
ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 1 - 3 คู่ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 1.3 - 3.4 ซม. ยาว 1 - 9 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบใบจักมน แผ่นใบเรียบ สีเขียว ผิวใบมีต่อมน้ำมัน แกนกลางใบและก้านใบแผ่เป็นปีกทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1 - 6 ซม.
ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามกิ่งด้านข้าง ดอกสีขาวอมเหลือง กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ มีต่อมน้ำมัน เกสรเพศผู้มี 8 อัน
ผลรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7 - 1.2 ซม. ผิวเรียบ มีต่อมน้ำมัน เมล็ดเล็กสีน้ำตาลมี 1 - 4 เมล็ด |
ประโยชน์ทางยา |
ใบ |
ยาแก้ลมบ้าหมู |
ราก |
ยาถ่าย ขับเหงื่อ รักษาโรคลำไส้ ฝนทาทำให้หน้านวลเหลือง |
แก่น |
ดองกับสุรากินแก้กระษัย โลหิตพิการ ดับพิษร้อน แก้ไข้ บดเป็นผง ทาผิว อาจผสมขมิ้น เรียก แป้งทานาคา |
ผลแห้ง |
ยาบำรุง แก้ไข้ แก้พิษ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย |
เปลือกต้น |
รสหอมสุขุม แก้ไข้ ขับผายลม |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 31. |
|
|
|