ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Scoparia dulcis L. |
ชื่อวงศ์ |
SCROPHULARIACEAE |
ชื่อสามัญ |
Macao tea |
ชื่ออื่นๆ |
ภาคกลาง |
ขัดมอนเล็ก, หนวดแมว |
กรุงเทพมหานคร |
กระต่ายจามใหญ่, กัญชาป่า, มะไฟเดือนห้า |
กาญจนบุรี |
ปีกแมงวัน |
ตราด |
หูปลาช่อนตัวผู้ |
จันทบุรี |
เทียนนา |
ภาคเหนือ |
หญ้าจ้าดตู๊ด, หญ้าหัวแมงฮุน |
ตรัง |
ขัดมอนเทศ |
ปัตตานี |
ตานซาน |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก สูง 25 - 80 ซม. แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม
ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ รูปรีเรียว ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบสั้นมาก
ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกเล็กสีขาว กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยก 4 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก
ผลแห้ง รูปทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มม. เมล็ดเล็กมาก |
ประโยชน์ทางยา |
ใบ |
มีรสฝาด ใช้ขับระดูขาว แก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดฟัน |
ต้น |
มีรสฝาด แก้ไอ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง แก้ลำไส้อักเสบ แก้ผื่นคัน แก้ขัดเบา แก้เหงือกบวม แก้ปากเปื่อย ลดอาการบวมน้ำ |
ผล |
มีรสฝาดเมา ใช้ขับพยาธิไส้เดือน |
ราก |
มีรสฝาด ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้โรคเบาหวาน แก้ผื่นคัน สมานลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียด และใช้รักษาโรคเอดส์ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 26. |
|
|
|