โมกแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia dubia (Sims) Spreng.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
นครราชสีมา โมกมัน
จันทบุรี โมกป่า
ตรัง มุ, มูก
กระบี่ จอมปูน
ภูเก็ต มูกมัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุุ่ม สูงได้ถึง 2 ม.

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2 - 8 ซม. ยาวได้ถึง 26 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่มถึงกลม

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่ สีส้ม ชมพู ถึงสีแดง มีรยางค์ติดบนชั้นกลีบดอก

ผลเป็นฝักคู่ ผลย่อยแตกแนวเดียว ทรงกระบอก เรียวยาว เมล็ดมีพู่ขนที่ปลายด้านหนึ่ง
ประโยชน์ทางยา
ราก ต้มน้ำดื่ม แก้บิด
ใบ เพสลาด ผสมหัวคุล้ม และหัวคล้า อย่างละเท่ากัน ต้มน้ำดื่ม แ้กไข้ แก้ร้อนใน
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 168.