ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Willughbeia edulis Roxb. |
ชื่อวงศ์ |
APOCYNACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, สุรินทร์ |
หมากยาง |
ภาคกลาง |
กะตังกะติ้ว |
ปราจีนบุรี |
คุยกาย, คุยช้าง |
ระยอง, จันทบุรี |
คุยหนัง |
ปัตตานี |
อีคุย |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้เถาอายุหลายปี มีมือเกาะ มียางขาว
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้างได้ถึง 12 ซม. ยาว 3.7 - 14 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่มถึงมน
ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนาน สีเหลือง
ผลสด ทรงกลมหรือรูปไข่ สีเหลืองถึงส้ม เมล็ดรูปไข่ ผิวเกลี้ยง |
ประโยชน์ทางยา |
ลำต้น |
- ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ผสมลำต้นม้ากระทืบโรง ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ
- ยาพื้นบ้านภาคกลางใช้ ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ลมคั่งข้อ
- ยาพื้นบ้านภาคใต้ใช้ ต้มน้ำดื่ม แก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคคุดทะราด |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 166. |
|
|
|