ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Vatica odorata (Griff.) Symington subsp. odorata |
ชื่อวงศ์ |
DIPTEROCARPACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
แพร่ |
ยางหนู |
น่าน |
ด่าง |
อุบลราชธานี |
ซี |
ปราจีนบุรี |
ขี้มอด, ชัน |
ภาคใต้ |
ตำเสา |
สุราษฎร์ธานี |
สัก |
ตรัง |
สักเขา |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม.
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแคบถึงรูปไข่ กว้าง 2.5 - 5.5 ซม. ยาว 8 - 16 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมน ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายยอด มีขนสั้นหนานุ่มสีน้ำตาลแกมเทาอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวนวล กลิ่นหอม
ผลแห้ง ไม่แตก รูปไข่ สีน้ำตาลแกมเหลือง กลีบเลี้ยงขยายขนาดเป็นปีกขนาดใหญ่ 2 ปีก ขนาดเล็ก 3 ปีก |
ประโยชน์ทางยา |
แก่น |
ผสมแก่นมะเดื่อปล้อง แก่นกระบก แก่นปีบ และแก่นมะพอก ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 164. |
|
|
|