ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tristaniopsis burmanice (Griff.) Peter G.Wilson & J.T.Waterh. var. rufescens (Hance) J.Parn. & Nic Lughadha |
ชื่อวงศ์ |
MYRTACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
เชียงใหม่ |
เคาะ |
สุโขทัย |
ประดงเหลือง |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น สูงได้ถึง 9 ม. ยอดอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปรี กว้าง 1 - 4 ซม. ยาว 3 - 10 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบเรียว
ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแน่น ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ร่วงง่่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก
ผลแห้งแตก เมล็ดแบน มีปีก |
ประโยชน์ทางยา |
ยอดอ่อน |
ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคกระเพาะอาหาร |
เปลือกต้น |
ผสมเกลือ ต้มน้ำ ล้างแผล |
แก่น |
ผสมแก่นจันทน์แดง ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ |
ลำต้น |
ผสมสารภีป่าทั้งต้น ตาห่านเขาทั้งต้น ลำต้นกรวยป่า ลำต้นพลับเขา เปลือกต้นมะม่วงเลือดน้อย เปลือกต้นสารภีดอกใหญ่ ลำต้นข้าวสารป่า และลำต้นแข้งกวางดง ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้กาฬ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 162. |
|
|
|