เถาอรคนธ์


ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetracera indica (Christm. & Panz.) Merr.
ชื่อวงศ์ DILLENIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
กรุงเทพมหานคร รสสุคนธ์แดง, อรคนธ์
ภาคใต้, นครศรีธรรมราช ย่านปด
ชุมพร เครือปด
ตรัง ย่านเปล้า
ยะลา, ปัตตานี ปดลื่น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเนื้อแข็ง

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีถึงรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 3 - 5 ซม. ยาว 6 - 10 ซม. ปลายใบมนถึงแหลม โคนใบแหลม

ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวแกมชมพู เกสรเพศผู้จำนวนมาก ปลายก้านชูอับเรณูสีแดง

ผลแห้ง แตกแนวเดียว คล้ายทรงกลม มีจะงอย เมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด
ประโยชน์ทางยา
ลำต้นหรือราก ผสมรากส้มกุ้ง เหง้าสับปะรด ลำต้นไผ่ป่า ลำต้นไผ่ตง งวงตาล เปลือกต้นสะแกแสง ลำต้นหรือรากเถาคันขาว ผลมะพร้าว ลำต้นรักดำ ลำต้นก้อม ลำต้นโพ หญ้างวงช้างทั้งต้น รากกะตังใบ เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรม รากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้ายาหัว และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม แก้อาการบวม แก้ฝี
ราก ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ
ดอก เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ แก้ลม มักใช้คู่กับรสสุคนธ์
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 158.