พริกนายพราน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabernaemontana bufalina Lour.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ตาก เข็มดง, ซ้าฮ่อม
เลย, อุบลราชธานี พุดป่า
อุบลราชธานี พุดน้อย, พริกป่า, พุทธรักษา
ยโสธร พริกผี
กรุงเทพมหานคร มะลิฝรั่ง
ชลบุรี พริกป่าใหญ่, พริกป่าเล็ก
ประจวบคีรีขันธ์ พริกพราน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม.

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 0.5 - 5.2 ซม. ยาว 2.6 - 17 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม

ดอกช่อ แบบกระจุก ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกย่อย 3 - 25 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว ด้านในหลอดกลีบดอกสีเหลืองอ่อน

ผลเป็นฝักคู่ ผลย่อยแตกแนวเดียว ทรงกระบอกแกมกระสวย เมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีส้มแดง
ประโยชน์ทางยา
ราก - ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ต้มน้ำดื่ม แก้ตกขาว แก้ไอ แก้เจ็บคอ ตำละเอียด ทาแก้ฝี ฝนน้ำดื่ม แก้ไอเป็นเลือด
- ยาพื้นบ้านภาคกลางใช้ ผสมรากต่อไส้และรากหนามพุงดอ ฝนเหล้าดื่ม แก้ปวดท้อง
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 157.