สามสิบกีบน้อย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona hutanguriana W.Chuakul
ชื่อวงศ์ STEMONACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ศรีสะเกษ หญ้าพบหนอน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงได้ถึง 30 ซม. มีรากสะสมอาหารเป็นกระจุก

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 1.5 - 3.5 ซม. ยาว 5 - 7.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว

ดอกช่อ คล้ายช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ กลีบรวม 4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น รูปใบหอก กว้าง 2 - 2.5 มม. ยาว 7 - 13 มม. สีชมพูถึงชมพูเข้ม

ผลแห้งแตก รูปกระสวย เมล็ดรูปขอบขนาน
ประโยชน์ทางยา
ราก ต้มน้ำดื่ม ขับพยาธิตัวจี๊ด ตำผสมน้ำ ชโลมศีรษะฆ่าเหา
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 151.