ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Spenodesme pentandra Jack |
ชื่อวงศ์ |
VERBENACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
เชียงใหม่ |
ขาเปี๋ย |
สงขลา |
จุ๊ด |
ปัตตานี |
ย่านดูก |
นครศรีธรรมราช |
สุด, หน่วยสุด |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่มรอเลื้อย
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2 - 9 ซม. ยาว 6 - 18 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบกลมหรือมน
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง พบบ้างที่เป็นช่อกระจุกแน่น ออกที่ซอกใบและปลายยอด มีดอกย่อยประมาณ 7 ดอก ใบประดับรูปขอบขนานแคบ กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน มีขนกระจุกที่กลางดอก
ผลสด ทรงกลม มีเมล็ดเดียว |
ประโยชน์ทางยา |
ลำต้นหรือราก |
- ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคกระเพาะอาหาร
- ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลังทางเพศ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 149. |
|
|
|