ตะคร้อหนาม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Sisyrolepis muricata (Pierre) Leenh.
ชื่อวงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ เคาะหนาม, เคาะหยุม, มะจ๊กหนาม, มะโจ๊กหนาม, มะจ๊กหยุม
อุบลราชธานี ค้อหนาม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม.

ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้างได้ถึง 7 ซม. ยาวได้ถึง 18 ซม. ปลายใบกลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบเว้าตื้นถึงเฉียง

ดอกช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ยาวได้ถึง 32 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้สีขาว อับเรณูสีแดง

ผลแห้งแตก ค่อนข้างกลม มีหนามยาวได้ถึง 3 ซม. เมล็ด มี 1 - 3 เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น ผสมรากสามสิบ เปลือกต้นเสี้ยวใหญ่ และรากพังคี หรือผสมแก่นพะยูง และแก่นประดู่ป่า หรือผสมแก่นกรวยป่า แก่นกระทุ่มหูกวาง และรากกัดลื้น หรือผสมเถากระดึงช้างทั้งต้น ใบพลับพลึง และปรงสวนทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้อังพฤกษ์ อัมพาต
escort erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop işitme cihazi izmir işitme cihazı istanbul işitme cihazı
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 143.