รักขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Semecarpus cochinchinensis Engl.
ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
เชียงใหม่ ฮักขี้หมู, ฮักหมู
ชัยภูมิ รักน้ำ
สุรินทร์, ปราจีนบุรี น้ำเกลี้ยง
ปราจีนบุรี ปูนผง
สระบุรี, ปราจีนบุรี, สุราษฎร์ธานี รัก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 8 - 15 ม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 12.5 ซม. ยาว 10 - 20 ซม. ปลายใบมน โคนใบรูปลิ่มหรือสอบ เนื้อใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง

ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาวได้ถึง 50 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองแกมเขียว มีจานฐานดอกรองรับรังไข่

ผลสด ทรงกลม ฐานผลพองออก สีเหลืองส้ม มีเมล็ดเดียว
ประโยชน์ทางยา
เปลือกต้นหรือใบ ผสมแก่นฝาง สะแอะทั้งต้น สังวาลย์พระอินทร์ทั้งต้น ใบหรือรากหวดหม่อน เปลือกต้นหรือลำต้นแจง และเปลือกต้นกันแสง ต้มน้ำดื่ม แก้น้ำเหลืองเสีย
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 142.