ฆ้อนกระแต


ชื่อวิทยาศาสตร์ Premna herbacea Roxb.
ชื่อวงศ์ LABIATAE (LAMIACEAE)
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคตะวันออก ละคอนโคก
อุบลราชธานี พายสะเมา, ยาข้าวเย็น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 1 - 1.5 ม.

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 25 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือแหลม ผิวใบมีขนนุ่ม

ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีน้ำตาลเข้ม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิด ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเขียวอ่อน

ผลแห้งแตกทรงกลม
ประโยชน์ทางยา
ราก - ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ผสมหัวข้าวเย็นเหนือ ลำต้นส้มกุ้ง เปลือกต้นสะเดาช้าง และลำต้นขมิ้นเครือ ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง, ผสมลำต้นขี้เหล็ก และลำต้นหนามหัน ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง รักษากามโรค, ผสมรากทองพันชั่ง และรากเล็บเหยี่ยว ต้มน้ำดื่ม รักษาแผลเรื้อรัง
- ยาพื้นบ้านภาคกลางใช้ ผสมลำต้นและใบทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ ลำต้นหรือรากเถาวัลย์ยั้ง ลำต้นข่อยน้ำ และลำต้นหรือรากขันทองพยาบาท ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 133.