พริกปากกระเป๋า


ชื่อวิทยาศาสตร์ Pierranthus capitatus (Bonati) Bonati
ชื่อวงศ์ SCROPHULARIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี ทิพจร, เสน่ห์จันทน์หิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูง 7 - 20 ซม. ลำต้นตั้งตรง มีขนประปราย

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปเส้นด้าย กว้าง 1 - 1.7 มม. ยาว 12 - 27 มม. ใบที่รองรับช่อดอก รูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 5 - 8 มม. ยาว 3.5 มม. ปลายยาวเป็นหาง ยาว 4 - 10 มม.

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ปลายยอด ดอกย่อย 8 - 10 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิด ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเหลือง

ผลแห้งแตก รูปไข่ มีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มหรือปรุงเป็นยาลูกกลอนรับประทาน แก้หืด แก้ลมวิงเวียน ผสมหญ้าข้าวก่ำทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 128.