กระชาย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.
ชื่อพ้อง Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Curcuma rotunda L.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ Fingerroot, Chinese ginger, Chinese key
ชื่ออื่นๆ
ขิงแดง, ขิงจีน
ภาคเหนือ หัวละแอน, ละแอน, กะแอน, ระแอน
ภาคกลาง กะชาย
ภาคอีสาน, ภาคเหนือ ขิงกระชาย
กรุงเทพมหานคร ว่านพระอาทิตย์
มหาสารคาม, แม่ฮ่องสอน กระชายดำ, กะแอน, ขิงทราย
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เปาซอเร๊าะ, เป๊าสี่, เป๊าะสี่, ระแอน, เป๊าะซอเร้าะ
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน, กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน จี๊ปู, ซีฟู
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีรากติดเป็นกระจุก เป็นที่สะสมอาหาร อวบน้ำ รูปทรงกระบอกปลายเรียวแหลม ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะ

ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรียาว กว้าง 4.5 – 10 ซม. ยาว 15 – 30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาว 7 – 25 ซม. กาบใบสีชมพู

ดอก ออกเป็นช่อ ออกแทรกระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวประมาณ 5 ซม. มีใบประดับสีม่วงแดงเรียงทแยงกัน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก ดอกที่ปลายช่อจะบานสวย กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู ดอกบานทีละดอก มีลักษณะเป็นถุงแยกเป็น 2 กลีบ เกสรตัวผู้หมันด้านข้าง 2 อัน รูปรี สีขาวอมชมพู เกสรเพศผู้หมันที่มีลักษณะคล้ายกลีบปากขนาดใหญ่ สีชมพู

ผล รูปรี เมื่อแก่แตกออกเป็น 3 ซีก
ประโยชน์ทางยา
เหง้า (ลำต้นใต้ดิน) มีรสเผ็ดร้นขม แก้โรคอันเกิดในปาก แก้มุตกิด แก้ลมอันบังเกิดแก่กองหทัยวาต แก้โรคในปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว แก้ใจสั่นหวิว บำรุงหัวใจ แก้ไอ แก้ปวดมวลในท้อง ท้องร่วง รักษาอาการแน่น จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะรักษาโรคบิด แก้บิดมูกเลือด ปวดเบ่ง แก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง ใช้ภายนอกรักษาโรคกลากเกลื้อน
ราก (นมกระชาย) มีรสเผ็ดร้อนขม มีสรรพคุณคล้ายโสม แก้กามตายด้าน บำรุงความรู้สึกทางเพศ ทำให้กระชุ่มกระชวย โดยใช้นมกระชายตำและหัวดองสุรา หรือใช้เป็นยาอายุวัฒนะโดยทำเป็นยาลูกกลอน
ใบ มีรสร้อนเฝื่อน แก้โรคในปาก บำรุงธาตุ ถอนพิษต่างๆ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กระชาย. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2562, จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/boesen.html
เมดไทย. กระชาย สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายเหลือง 49 ข้อ !. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2562, จาก https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทยสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 57-60.
วันดี กฤษณพันธ์. (2539). สมุนไพรน่ารู้. หน้า 67-68.
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 32.
ดร.นิจศิริ เรืองรังษี และธวัชชัย มังคละคุปต์. (2547). สมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 20.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2552). เครื่องยาไทย 1. หน้า 35.