ไคร้หางนาค


ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus taxodiifolius Beille
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสียว
ขอนแก่น เสียวน้อย, เสียวเล็ก
อุบลราชธานี เสียวหางนาค
อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี เสียวน้ำ
สุพรรณบุรี ตะไคร้หางสิงห์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1.5 ม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานกว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 5 มม. ปลายใบมนและเป็นติ่ง โคนใบมนเบี้ยว

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกย่อยสีขาวนวล ดอกเพศผู้มีกลีบรวม 4 กลีบ ดอกเพศเมียมีกลีบรวม 6 กลีบ จานฐานดอกเป็นกาบรูปถ้วย จักเป็นครุย

ผลแห้งแตก ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มม. เมล็ดมี สามสัน
ประโยชน์ทางยา
ราก ผสมรากเสียวใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้มดลูกอักเสบ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 126.