นางอั้ว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Pecteilis susannae (L.) Raf.
ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ เอื้องตีนกบ, เอื้องนางก๋าย, เอื้องเสาวนา
ภาคกลาง นางกราย
สุราษฎร์ธานี ว่านนะราช, ว่านนาคราช
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยไม้ดินล้มลุก อายุหลายปี มีหัวใต้ดิน สูงได้ถึง 60 ซม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 6 - 8 ซม. ยาว 10 - 18 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบสอบ

ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงด้านข้างสีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงด้านบนสีขาวแหมเขียว กลีบดอกด้านข้างเป็นเส้นสีขาว กลีบปากแยกเป็นสามแฉก แฉกกลางรูปขอบขนาน แฉกข้างหยักเป็นริ้วสีขาว มีเดือยยาวประมาณ 15 ซม.

ผลแห้งแตก รูปกระสวย ยาวประมาณ 6 ซม.
ประโยชน์ทางยา
หัว ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 125.