กระทุ่มหูกวาง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Neonauclea sessilifolia (Roxb.) Merr.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ ตับควาย, ตุ้มบึง, ตุ้มโป่ง, ตุ้มหูกวาง, อ้อล่อหูกวาง
พิษณุโลก, กำแพงเพชร หูกวาง
อุบลราชธานี ตับเต่า, ตานควาย
นครพนม ตับเต่าน้ำ
เลย แหนตัน
สุราษฎร์ธานี หลุมปัง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม.

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. ปลายใบมน โคนใบกลม พบบ้างที่เป็นครีบหรอรูปติ่งหู ผิวใบมัน

ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแน่น รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายรูปดอกเข็ม ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ก้านชูยอดเกสรเพศเมียยาวพ้นหลอดกลีบดอก

ผลย่อยอัดแน่นเป็นทรงกลม
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย ผสมลำต้นเฉียงพร้านางแอ และลำต้นเคด ต้มน้ำดื่มแก้ผิดสำแดง ผสมแก่นมะขาม ต้มน้ำดื่ม แก้นิ่ว
ราก ผสมแก่นดันหมี ต้มน้ำดื่ม แก้ดีซ่าน ผสมรากส้มลม และรากเคด ต้มน้ำดื่ม แก้ตกขาว
ลำต้นหรือราก ผสมรากยอน้ำ และรากสนกระ ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต
แก่น ผสมรากกรวยป่า และรากกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ผสมต้างทั้งต้น และแก่นมะพอก ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคตับพิการ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 122.