หญ้าหงอนเงือก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Murdannia gigantea (Vahl) G.Breckn.
ชื่อวงศ์ COMMELINACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
สุราษฎร์ธานี น้ำค้างกลางเที่ยง
หนองคาย ว่านมูก
อุบลราชธานี หงอนพญานาค, ไส้เอียน, กกข้าวเหนียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูง 1 - 2 ม. มีรากสะสมอาหาร

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบ กว้าง 1.5 - 3 ซม. ยาว 15 - 40 ซม. ปลายใบมนถึงเรียวแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบ

ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ยาวประมาณ 1.5 ม. ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีขาวแกมม่วง กลีบดอก 3 กลีบ รูปเกือบกลมแกมรูปไข่กลับ สีม่วงน้ำเงินถึงขาว

ผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกเรียวยาว สีน้ำตาลเป็นมัน เมล็ดมีหลายเมล็ด สีน้ำตาลเข้ม
ประโยชน์ทางยา
ราก ผสมเหง้าเอื้องหมายนา หัวว่านอึ่ง และแก่นแฟบน้ำ แช่น้ำดื่มและอาบ แก้ซางเด็ก
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 120.