หางรอก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Miliusa velutina (Dunal) Hook.f. & Thomson
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ ขางหัวหมู
สุรินทร์ ยางโดน, สะแมะ
หนองคาย แตงแซง
นครราชสีมา, ปราจีนบุรี โกงกาง, จอแจ
ประจวบคีรีขันธ์ โจรเจ็ดนาย, หัวใจไมยราบ
ราชบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ เต็งใบใหญ่, บังรอก, หางค่าง, หำรอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นหนานุ่ม

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปอบขนาน กว้าง 9 - 12 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ปลายใบมน มีติ่งแหลม โคนใบมน

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบหรือตามกิ่ง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบดอกชั้นนอกขนาดเล็กคล้ายกลีบเลี้ยง กลีบดอกชั้นในขนาดใหญ่ รูปไข่ สีน้ำตาลแกมเขียว เกสรเพศผู้และเกสรเมียจำนวนมาก

ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปเกือบกลม สีเขียว เมื่อแก่สีแดง
ประโยชน์ทางยา
แก่น ผสมแก่นหรือรากเจ็ดช้างสารใหญ่ ลำต้นกำลังช้างสาร และลำต้นกำลังเสือโคร่ง ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย บำรุงกำลังทางเพศ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 118.