เขือง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Leea rubra Blume ex Spreng.
ชื่อวงศ์ LEEACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ยโสธร กำลังเลือดค่าง
กรุงเทพมหานคร กะตังใบแดง, กะตังใบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม.

ใบประกอบแบบขนนก 1 - 2 ชั้น รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 5 - 12.5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือรูปลิ่ม ขอบใบจักฟันเลื่อย หูใบแนบกับก้านใบ

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ปลายยอด ช่อดอกยาวประมาณ 10 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก กลีบดอกและเกสรเพศผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก สีแดงเข้ม กลางดอกสีขาว

ผลสด มี 4 - 5 พู ค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแกมเขียว มีหลายเมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ราก - ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ผสมลำต้นขมิ้นเครือ ลำต้นเมื่อยดูกและรากตากวาง ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย
- ตำรายาไทยใช้ ระงับความร้อน แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดเมื่อย
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 102.