เปราะป่า


ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia roscoeana Wall.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่านตูบหมูบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้า คล้ายทรงกลม

ใบเดี่ยว เรียงสลับ มี 2 ใบ แผ่ราบไปกับผิวดิน รูปกลมถึงรูปรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 20 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน เนื้อใบหนา สีเขียวเข้มถึงน้ำตาลแดง ส่วนใหญ่มีลาย

ดอกช่อ แบบช่อกระจะแน่น ออกที่ปลายยอด ดอกย่อย 2 - 20 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก สีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก รูปขอบขนาน เกสรเพศผู้ 1 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันด้านข้างแผ่ออกคล้ายกลีบดอก 2 อัน รูปไข่กลับ สีขาว เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอันกลางปลายแยกเป็น 2 พู สีขาวแต้มเหลือง

ผลสด แตกเป็น 3 พู รูปทรงรีถึงไข่กลับ เมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ด
ประโยชน์ทางยา
เหง้า ตำพอก ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 100.