ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn. |
ชื่อวงศ์ |
IRVINGIACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
ภาคเหนือ |
มะมื่น, มื่น |
สุโขทัย, นครราชสีมา |
มะลื่น, หมักลื่น |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
บก, หมากบก |
ภาคกลาง |
กะบก, จะบก, ตระบก |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 ม.
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง 2.5 - 9 ซม. ยาว 8 - 20 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบหนาคลายแผ่นหนัง
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ยาว 5 - 15 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก มี 5 กลีบ สีขาวแกมเหลือง
ผลสด ทรงกลมรี มีเมล็ดเดียว |
ประโยชน์ทางยา |
แก่น |
ผสมแก่นพันจำ และแก่นมะป่วน หรือผสมแก่นมะเดื่อปล้อง แก่นพันจำ แก่นปีบ และแก่นมะพอก ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม แก้ไอ ผสมลำต้นต่อไส้ และแก่นกันแสง แช่น้ำอาบ แก้ผื่นคัน |
ลำต้น |
ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดพิการ แก้ไอเป็นเลือด ผสมเหง้าขมิ้นอ้อย รากทองแมง เมล็ดงา ครั่ง มดแดง และเกลือ ต้มน้ำดื่ม แก้เคล็ดยอก |
เปลือกต้น |
- ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ผสมลำต้นเหมือดโลด ใบหวดหม่อน ลำต้นเม่าหลวง และเปลือกต้นมะรุม ตำพอก แก้ปวด
- ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ผสมเหง้าสับปะรด งวงตาล รากไผ่รวก นมควายทั้งต้น และสารส้ม ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคหนองใน |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 97. |
|
|
|