ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Hydrolea zeylanica (L.) Vahl |
ชื่อพ้อง |
Nama zeylanica L. |
ชื่อวงศ์ |
HYDROLEACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
อุบลราชธานี |
ผักกะเดียง |
สกลนคร |
บีปลาไหล, ไส้เอี่ยน, บีเอี่ยน |
บุรีรัมย์ |
ปอผี |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10 - 100 ซม. ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ สามารถพบได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ความสูงประมาณ 1,000 ม.
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียน ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกถึงรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1 - 2.5 ซม. และยาวประมาณ 1.5 - 5 ซม. ไม่มีหูใบ
ดอกช่อ แบบช่อกระจะแยกแขนงหรือออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบและที่ปลายยอด ช่อดอกยาวได้ถึง 5 ซม. มีดอกย่อยสมบูรณ์เพศจำนวนมาก ดอกย่อยนั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 ซม. ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1 - 3 มม. กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว ลักษณะเป็นรูปหอก มีขนนุ่ม วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบแหลมด้านนอกมีขนขึ้นปกคลุม ขนาดประมาณ 4.5 - 8 มม. เรียงสลับกับกลีบดอก ส่วนกลีบดอกนั้นมีลักษณะเป็นรูปไข่ มี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีน้ำเงินอมม่วงหรือสีม่วงอมเขียว กลางดอกเป็นสีขาว ขนาดประมาณ 3 - 5 มม. ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน เรียงสลับกับกลีบดอก ก้านชูเกสรเพศเมียมี 2 อัน อับเรณูเป็นสีแดงเข้ม ออกดอกในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี มีขนาดกว้างประมาณ 2.5 มม. และยาวประมาณ 5 มม. ห่อด้วยกลีบรองดอก มีกลีบเลี้ยงติดคงทน ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน มีขนาดประมาณ 0.3 - 0.4 มม. จะติดผลในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน |
ประโยชน์ทางยา |
ทั้งต้น |
ต้มน้ำดื่ม แก้ตาฟาง |
ต้น |
ยาบำรุงหัวใจ ตับ แก้ไข้มาลาเรีย และแก้เบาหวาน โดยการใช้ต้มสด 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่ม แต่สำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมขม |
ใบ |
- ในประเทศกัมพูชาจะใช้เป็นยารักษาอาการเกี่ยวกับลำไส้ผิดปกติ และใช้เป็นยาสมานแผล ฆ่าเชื้อ
- ในประเทศอินเดียจะใช้เป็นยาพอกสำหรับฆ่าเชื้อและสมานแผลพุพอง แผลอักเสบ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 94. |
เมดไทย. 9 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นปอผี ! (ผักกะเดียง). สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก https://medthai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B5/ |
|
|
|