ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Homalium tomentosum (Vent.) Benth. |
ชื่อวงศ์ |
FLACOURTIACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
เชียงใหม่ |
ช้างเผือกหลวง |
ลำปาง |
เปื๋อยคะนาง, เปื๋อยนาง, เปื๋อยค่างไห้ |
นครราชสีมา |
ลิงง้อ |
ภาคกลาง |
ขางนาง, คะนาง |
ระยอง |
ค่านาง, โคด |
ราชบุรี |
ปะหง่าง |
กาญจนบุรี |
เปลือย |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงได้ถึง 40 ม. เปลือกบาง
ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 5 - 13 ซม. ยาว 10 - 20 ซม. ปลายใบมนหรือกลม โคนใบรูปลิ่ม
ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ห้อยลง ออกที่ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กระจุกละ 2 - 3 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก สีเหลืองแกมเขียว
ผลแห้งไม่แตก ขนาดเล็ก |
ประโยชน์ทางยา |
ลำต้น |
ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 93. |
|
|
|